วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความปรารถนาของพระสาวกทั้งหลาย เป็นไปตลอดกาลมีประมาณเท่าไร ?

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เล่ม๗๐.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑  หน้า๒๗๑


ขอถามว่า   ความปรารถนาของพระสาวกทั้งหลาย
เป็นไปตลอดกาลมีประมาณเท่าไร ?
         ตอบว่า   ความปรารถนาของพระอัครสาวกเป็นไป  ๑  อสงไขย
แสนกัป  ของพระอสีติมหาสาวกเป็นไปแสนกัปเท่านั้น.  ความปรารถนา
ของพระพุทธบิดา  พระพุทธมารดา  พระพุทธอุปัฏฐาก  และพระ-
พุทธบุตร  ก็แสนกัปเหมือนกัน  เพราะเหตุนั้น  จึงไม่อาจต่ำกว่านั้น
เหตุในความปรารถนานั้น  มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

แต่พระสาวกเหล่านี้     ทุกองค์มีอภินิหารเฉพาะสองข้อเท่านั้น   คือ
อธิการ  การกระทำอันยิ่ง  และ  ฉันทตา  ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำ.
         พระพุทธเจ้าทั้งหลาย    บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดกาลซึ่งมีประ
เภทตามที่กล่าวแล้ว   ด้วยความปรารถนานี้    และด้วยอภินิหารนี้   อย่างนี้
แล้ว      เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก        ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์หรือสกุล
พราหมณ์.
         พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย   ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์  สกุล
พราหมณ์หรือสกุลคหบดี  สกุลใดสกุลหนึ่ง.
         ส่วนพระอัครสาวกย่อมเกิดขึ้นเฉพาะ   ในสกุลกษัตริย์ และ  สกุล
พราหมณ์  เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า.
         พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เกิดขึ้นในสังวัฏฏกัปคือกัปเสื่อม     ย่อม
เกิดขึ้นในวิวัฏฏกัปคือกัปเจริญ.   พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน.
         อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย   ไม่เกิดขึ้นในกาลที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายบังเกิดขึ้น.    พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง   และยัง
ให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วย.   พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เฉพาะตนเอง   แต่ไม่
ยังให้ผู้อื่นรู้.    พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น   ไม่แทง
ตลอดธรรมรส.  เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่อาจยกโลกุตรธรรม
ขึ้นสู่บัญญัติแล้วแสดง.    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น    มีการตรัสรู้ธรรม
เหมือนคนใบ้เห็นความฝัน        และเหมือนพรานป่าลิ้มรสกับข้าวในเมือง
ฉะนั้น.       ท่านบรรลุประเภทแห่งความแตกฉานในอิทธิฤทธิ์และสมาบัติ
ทั้งปวง    เป็นผู้ต่ำกว่าพระพุทธเจ้า     สูงกว่าพระสาวก     โดยคุณวิเศษ.
ให้คนอื่นบวชไม่ได้  แต่ให้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตรได้  กระทำอุโบสถด้วย
อุเทศนี้ว่า    พึงทำการขัดเกลาจิต    ไม่พึงถึงอวสานคือจบ    หรือกระทำ
อุโบสถโดยเพียงกล่าวว่า     วันนี้เป็นวันอุโบสถ      และเมื่อจะทำอุโบสถ
ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาฬกะโรงแก้ว  ณ ควงต้นไม้สวรรค์     บนภูเขา
คันธมาทน์แล.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ขอขอบคุณ อาจารย์ สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน ที่ให้คำปรึกษาครับ

รายการแสงธรรมเพื่อชีวิต จัดรายการวิทยุ โดย อาจารย์ สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน เกี่ยวกับ รายการแสงธรรมเพื่อชีวิต เริ่มจัดรายการเผยแผ่ธรรมะทางวิทยุของตนเองเริ่มปี 2544 เนื้อหาจากพระไตรปิฎกฉบับเถรวาท เขียนหนังสือธรรมะ ทำMP3 , VCDธรรมะ กิจกรรมงานบุญแก่วัดและโรงเรียนที่ยากไร้ ร่วมออกเต็นท์งานมาฆบูชาและวิสาขบูชาที่สนามหลวง ท่านสามารถฟังรายการแสงธรรมเพื่อชีวิตได้ที่ สถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ AM.1422 จันทร์- ศุกร์ 10.05-10.35 น. ติดต่อ อาจารย์ สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน โทร 084-100-8283

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ถามว่า ก็ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไป นานเพียงไร ?

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เล่ม๗๐.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ หน้า๒๗๑

ถามว่า  ก็ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า     ย่อมเป็นไป
นานเพียงไร ?  ตอบว่า ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมเป็นไป ๒ อสงไขยแสนกัป  ไม่อาจต่ำกว่านั้น     พึงทราบเหตุในความ
ปรารถนานั้น     โดยนัยดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ   ก็ว่าโดยกาลแม้มี
ประมาณเท่านี้       ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า      ก็จำต้อง
ปรารถนาสมบัติ  ๕ ประการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่  พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าเหล่านั้น
                มีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้   คือความเป็นมนุษย์ ๑   ความ
         ถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑  การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑
         การกระทำอันยิ่งใหญ่  ๑   ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑
         บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า    การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ
ได้แก่   การได้เห็นพระพุทธเจ้า   พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า    และพระสาวก
ของพระพุทธเจ้า   ท่านใดท่านหนึ่ง.   คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า อ่าน ต่อ ได้ที่ >> "พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน" พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม๗๐.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑  หน้า๒๔๖

ความปรารถนา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปนานเพียงไร.

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เล่ม๗๐.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑  หน้า๒๖๕


ท่านพระอานนท์กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนา
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย   ย่อมเป็นไปนานเพียงไร.
         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  ดูก่อนอานนท์    ความปรารถนาของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย   โดยกำหนดอย่างต่ำ  ย่อมเป็นไป ๔ อสงไขย
แสนกัป โดยกำหนดอย่างกลาง ย่อมเป็นไป  ๘ อสงไขยแสนกัป โดย
กำหนดอย่างสูง  ย่อมเป็นไป  ๑๖ อสงไขยแสนกัป.



ผู้ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า อ่าน ต่อ ได้ที่ >> "พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน" 

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม๗๐.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ หน้า๒๔๖ถึงหน้า๒๙๓

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




ขอขอบคุณ อาจารย์ สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน ที่ให้คำปรึกษาครับ

รายการแสงธรรมเพื่อชีวิต จัดรายการวิทยุ โดย อาจารย์ สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน เกี่ยวกับ รายการแสงธรรมเพื่อชีวิต เริ่มจัดรายการเผยแผ่ธรรมะทางวิทยุของตนเองเริ่มปี 2544 เนื้อหาจากพระไตรปิฎกฉบับเถรวาท เขียนหนังสือธรรมะ ทำMP3 , VCDธรรมะ กิจกรรมงานบุญแก่วัดและโรงเรียนที่ยากไร้ ร่วมออกเต็นท์งานมาฆบูชาและวิสาขบูชาที่สนามหลวง ท่านสามารถฟังรายการแสงธรรมเพื่อชีวิตได้ที่ สถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ AM.1422 จันทร์- ศุกร์ 10.05-10.35 น. ติดต่อ อาจารย์ สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน โทร 084-100-8283


วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า


พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เล่ม ๗๐.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ หน้า๒๓๗


๒.  ปัจเจกพุทธาปทาน
                   ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
             [๒]   ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟัง ปัจเจกสัมพุทธาปทาน.
         พระอานนท์เวเทหมุนี    ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว  ได้ทูลถาม
         พระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันว่า       ได้ทราบว่า
         พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ   เพราะเหตุไร  ท่านเหล่านั้น
         จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์.
                ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู   ผู้ประ-
         เสริฐ   ผู้แสวงหาคุณใหญ่   ตรัสตอบท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
         ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าสร้าง
         บุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทั้งปวง  ยังไม่ได้โมกขธรรมใน
         ศาสนาของพระชินเจ้า.
                ด้วยมุขคือความสังเวชนั้นนั่นแล        ท่านเหล่านั้นเป็น
         นักปราชญ์     มีปัญญาแก่กล้า    ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อม
         บรรลุปัจเจกโพธิญาณได้  แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย.
                ในโลกทั้งปวง    เว้นเราเสียแล้ว   ไม่มีใครเสมอกับพระ-
         ปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย   เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้  ของท่าน
         เหล่านั้น  ท่านทั้งหลายจงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี.
                ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนาพระนิพพาน     อันเป็นโอสถวิเศษ
         จงมีใจผ่องใส   ฟังถ้อยคำอันดีอ่อนหวานไพเราะ   ของพระ-
         ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่   ตรัสรู้ด้วยตนเองเถิด.

คำพยากรณ์โดยสืบ  ๆ กันมาเหล่าใด    ของพระปัจเจก-
         พุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน    โทษ    เหตุปราศจากราคะ
         และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุพระโพธิญาณ  ด้วย
         ประการใด.
                พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะ
         ว่า  ปราศจากราคะ  มีจิตปราศจากกำหนัด  ในโลกอันกำหนัด
         ละธรรมเครื่องเนิ่นช้า       ชนะทิฏฐิอันดิ้นรน     แล้วได้บรรลุ
         พระโพธิสัตว์ ณ สถานที่นั้นเอง.
                ท่านวางอาญาในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้ว   ไม่เบียดเบียนสัตว์
         แม้ตนเดียว  ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น  มีจิตประกอบด้วยเมตตา
         หวังประโยชน์เกื้อกูล     พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรด
         ฉะนั้น.
                ท่านวางอาญาในปวงสัตว์        ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งใน
         บรรดาสัตว์เหล่านั้น    ไม่ปรารถนาบุตร    ที่ไหนจะปรารถนา
         สหาย  พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
                ความมีเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกี่ยวข้อง       ทุกข์ที่อาศัยความ
         เสน่หานี้มีมากมาย     ท่านเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา
          พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                บุคคลผู้อนุเคราะห์มิตรสหาย     มีจิตใจผูกพัน   ย่อมทำ
         ประโยชน์ให้เสื่อมไป  ท่านเล็งเห็นภัยในความสนิทสนมข้อนี้
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
ความเสน่หาในบุตรและภรรยา         เปรียบเหมือนไม้ไผ่
         กอไผ่เกี่ยวพันกันอยู่     ท่านไม่ข้องในบุตรและภรรยา    ดัง
         หน่อไม้ไผ่    พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
                เนื้อในป่าไม้ถูกมัด     เที่ยวหาเหยื่อด้วยความปรารถนา
         ฉันใด  ท่านเป็นวิญญูชนมุ่งความเสรี   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
         เช่นกับนอแรด  ฉันนั้น.
                ในท่ามกลางหมู่สหาย  ย่อมจะมีการปรึกษาหารือกัน  ทั้ง
         ในที่อยู่   ที่ยืน  ที่เดิน  และที่หากิน      ท่านเล็งเห็นความไม่
         ละโมบ ความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นเดียวกับนอแรดฉะนั้น.
                การเล่นในท่ามกลางหมู่สหาย    เป็นความยินดีและความ
         รักในบุตรภรรยา     เป็นสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาล    ท่านเกลียด
         ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก        พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
         เสมือนนอแรดฉะนั้น.
                ท่านแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ   ไม่มีความโกรธเคือง   ยินดี
         ด้วยปัจจัยตามมีตามได้    อดทนต่ออันตรายทั้งหลายได้    ไม่
         หวาดเสียว   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
                แม้คนผู้บวชแล้วบางพวก     และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
         สงเคราะห์ได้ยาก    ท่านจึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตร
         ของคนอื่น  พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
                ท่านปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์    เป็นผู้กล้าหาญ    ตัด
         เครื่องผูกของคฤหัสถ์        เสมือนต้นทองหลางมีใบขาดมาก
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน    ประพฤติเช่นเดียว
         กัน  อยู่ด้วยกรรมดี  เป็นนักปราชญ์ไซร้  พึงครอบงำอันตราย
         ทั้งปวง  มีใจดี   มีสติ  เที่ยวไปกับสหายนั้น.
                ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน   ผู้อยู่ด้วยกรรมดี   เป็น
         นักปราชญ์  ไว้เป็นเพื่อนเที่ยวไปด้วยกัน   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว
         ไป   เหมือนพระราชา   ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว  เที่ยว
         ไปพระองค์เดียว  ดังช้างชื่อมาตังคะ  ละโขลงอยู่ในป่าฉะนั้น.
                ความจริง  เราย่อมสรรเสริญความถึงพร้อมด้วยสหาย  พึง
         คบหาสหายผู้ประเสริฐกว่า  หรือผู้ที่เสมอกัน เมื่อไม่ได้สหาย
         เหล่านั้น    ก็พึงคบหากรรมอันไม่มีโทษ   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
         เช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่อง         ที่นายช่างทองทำ
         เสร็จแล้ว    กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง   (เกิดความเบื่อหน่าย)
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                การเปล่งวาจา    หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น   พึงมีกับ
         เพื่อนอย่างนี้   ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
         เช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร     หวานอร่อย     เป็นที่รื่นรมย์ใจ
         ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่าง  ๆ  ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
                ความจัญไร  หัวฝี   อุบาทว์   โรค    กิเลสดุจลูกศร   และ
ภัยนี้ของเรา  ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย  พึงเป็นผู้เดียว
         เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้       คือ  หนาว    ร้อน
         ความหิว   ความกระหาย   ลม   แดด   เหลือบ  ยุง    และสัตว์
         เลื้อยคลาน   แล้วพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
                ท่านพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด   เปรียบเหมือน
         ช้างมีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว  สีกายดังดดอกปทุมใหญ่โต  ละโขลง
         อยู่ในป่าตามชอบใจฉะนั้น.
                ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า      ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
         พระอาทิตย์ว่า  บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันเกิดเอง  นี้มิใช่ฐานะ
         ของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่    พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
         นอแรดฉะนั้น.
                ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก    ถึงความแน่นอน    มี
         มรรคอันได้แล้ว    เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว   อันคนอื่นไม่ต้อง
         แนะนำ   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านไม่มีความโลภ  ไม่โกง  ไม่ระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน
         มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว       เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก
         ทั่งปวง   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                กุลบุตรพึงละเว้นสหายผู้ลามก      ผู้มักชี้แต่ความฉิบหาย
         ตั้งอยู่ในฐานะผิดธรรมดา    ไม่พึงเสพสหายผู้ขวนขวาย    ผู้
         ประมาทด้วยตนเอง        พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด
         ฉะนั้น.
กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต   ทรงธรรม   มีคุณยิ่ง   มี
         ปฏิภาณ      รู้ประโยชน์ทั้งหลาย      บรรเทาความสงสัยแล้ว
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านไม่พอใจการเล่น    ความยินดี     และกามสุขในโลก
         ไม่ห่วงใย     งดเว้นจากฐานะที่ตกแต่ง     มีปกติกล่าวคำสัตย์
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านละบุตร   ภรรยา  บิดา   มารดา   ทรัพย์  ข้าวเปลือก
         พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามที่มีอยู่มากมาย พึงเป็นผู้เดียว
         เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                นี้เป็นความเกี่ยวข้อง  ในความเกี่ยวข้องนี้ มีสุขนิดหน่อย
         มีความพอใจน้อย     มีทุกข์มากยิ่ง     บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า
         ความเกี่ยวข้องนี้ดุจลูกธนู        พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
         นอแรดฉะนั้น.
                กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย     เปรียบเหมือนปลา
         ทำลายข่ายแล้วไม่กลับมา    ดังไฟไม้เชื้อลามไปแล้วไม่กับ
         มา   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                พึงทอดจักษุลง   ไม่คะนองเท้า   มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว
         รักษาใจไว้ได้   อันราคะไม่รั่วรด    อันไฟกิเลสไม่เผาลน  พึง
         เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์      เหมือนต้นทองหลาง
         มีใบขาดแล้ว     นุ่งห่มผ้ากาสายะ     ออกบวชแล้ว    พึงเป็น
         ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่กระทำความกำหนัดในรส   ไม่โลเล   ไม่ต้องเลี้ยง
         ผู้อื่น    เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก    มีจิตไม่ข้องเกี่ยวใน
         สกุล  ฟังเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ     บรรเทาอุปกิเลส
         เสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา
         แล้ว   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านทำสุข  ทุกข์  โทมนัส  และโสมนัสก่อน ๆ  ไว้เบื้อง
         หลัง   ได้อุเบกขา  สมถะ    และความหมดจดแล้ว    พึงเป็น
         ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านปรารภความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพาน มีจิตไม่หดหู่
         ไม่ประพฤติเกียจคร้าน   มีความเพียรมั่น   ประกอบด้วยกำลัง
         เรี่ยวแรง   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน   มีปกติประพฤติธรรมสมควร
         แก่ธรรมเป็นนิตย์   พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย   พึงเป็น
         ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านปรารถนาความสิ้นตัณหา   ไม่ประมาท   เป็นผู้ฉลาด
         เฉียบแหลม   เป็นผู้สดับตรับฟัง  มีสติ   มีธรรมอันพิจารณา
         แล้ว   เป็นผู้เที่ยง   มีความเพียร   พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่น
         กับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านไม่สะดุ้งเพราะเสียง   ดุจสีหะ   ไม่ข้องอยู่ในตัณหา
         และทิฏฐิ  เหมือนลมไม่ติดตาข่าย   ไม่ติดอยู่ในโลก  ดุจดอก
         ปทุมไม่ติดน้ำ  พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านเสพเสนาสนะอันสงัด       เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็น
         กำลัง     เป็นราชาของหมู่เนื้อ    มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำ
         พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านเจริญเมตตาวิมุตติ  กรุณาวิมุตติ  มุทิตาวิมุตติ   และ
         อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา      ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งปวง     พึงเป็น
         ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                ท่านละราคะ โทสะ และโมหะ  ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
         เสีย   ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต  พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
         นอแรดฉะนั้น.
                ชนทั้งหลาย   มีเหตุเป็นประโยชน์   จึงคบหาสมาคมกัน
         มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ   หาได้ยากในวันนี้    มนุษย์ทั้งหลายมี
         ปัญญามองประโยชน์ตน   เป็นคนไม่สะอาด    ฟังเป็นผู้เดียว
         เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
                นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์   มีปัญญาหมดจดดี   มีจิต
         ตั้งมั่น  ประกอบความเพียร  เจริญวิปัสสนา  มีปกติเห็นธรรม
         พิเศษ  รู้แจ้งธรรมอันประกอบด้วยองค์มรรค  และโพชฌงค์.
                เจริญสุญญตวิโมกข์    อนิมิตตวิโมกข์    และอัปปณิหิต-
         วิโมกข์   ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า
         นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า.
                มีธรรมใหญ่   มีธรรมกายมาก  มีจิตเป็นอิสระ  ข้ามห้วง
         ทุกข์ทั้งปวงได้   มีใจเบิกบาน    มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง
         อุปมาดังราชสีห์  อุปมาดังนอแรดฉะนั้น.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้    มีอันทรีย์สงบ   มีใจสงบ
         มีใจตั้งมั่น     มีปกติประพฤติกรุณาในสัตว์   ในปัจจันตชนบท
         เกื้อกูลแก่เหล่าสัตว์    รุ่งเรื่องอยู่ในโลกนี้และโลกหน้า   เช่น
         กับดวงประทีปฉะนั้น.
                พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้    ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวง
         หมดแล้ว  เป็นจอมชน  เห็นประทีปส่องโลกให้สว่าง   มีรัศมี
         เช่นรัศมีแห่งทองคำแท่ง     เป็นพระทักขิไณยบุคคลชั้นดีของ
         ชาวโลก  โดยไม่ต้องสงสัย   เป็นผู้เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ.
                คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย     ย่อมเป็นไป
         ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก    ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้วไม่
         กระทำเหมือนอย่างนั้น     ชนเหล่านั้นท่องเที่ยวไปในสังสาร-
         ทุกข์บ่อย ๆ.
                คำสุภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย      เป็นคำ
         ไพเราะ.    ดังน้ำผึ้งรวงอันไหลออกอยู่     ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว
         ประกอบการปฏิบัติเช่นนั้น      ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีปัญญา
         เห็นสัจจะ.
                คาถาอันโอฬารที่พระปัจเจกสัมพุทธชินเจ้า      ออกบวช
         กล่าวไว้แล้ว        คาถาเหล่านั้นอันพระศากยสีหะผู้สูงสุดกว่า
         นรชนทรงประกาศแล้ว   เพื่อให้รู้แจ้งธรรม.
                คำที่เป็นคาถาเหล่านี้       พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
         รจนาไว้อย่างวิเศษ    เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก    อันพระสยัมภู
ผู้สีหะทรงประกาศแล้ว   เพื่อเพิ่มพูนความสังเวช    ความไม่
         คลุกคลี   และปัญญา  ฉะนี้แล.
                            ปัจเจกพุทธาปทาน  จบบริบูรณ์
                                        จบอปทานที่  ๒

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร

พระไตรปิฎก  ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เล่ม ๒๔.พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

๙.  ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
คาถาของธิดาท้าวปัชชุนนะ
         [๑๓๑]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
         สมัยหนึ่ง     พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ   กูฎาคารศาลาในป่า
มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล  เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ชื่อโกกนทา    มีวรรณะงาม    ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง    เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า    ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท    แล้วยืนอยู่   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
         [๑๓๒]   ธิดาของท้าวปัชชุนนะ  ชื่อโกกนทา  ครั้นยืนอยู่   ณ  ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งแล้ว  ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
                             หม่อมฉันชื่อว่าโกกนทา   เป็นธิดา
                   ของท้าวปัชชุนนะ    ย่อมไหว้เฉพาะพระ-
                   สัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์  ผู้เสด็จอยู่ในป่า
                   กรุงเวสาลี  สุนทรพจน์ว่า   ธรรมอันพระ-
                   สัมพุทธเจ้า  ผู้มีพระปัญญาจักษุ  ตาม
                   ตรัสรู้แล้วดังนี้     หม่อมฉันได้ยินแล้วใน
                   กาลก่อน   แท้จริง   หม่อมฉันนั้น   เมื่อ
                   พระสุคตผู้เป็นมุนีทรงแสดงอยู่  ย่อมรู้
                   ประจักษ์ในกาลนี้   ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมี
                   ปัญญาทราม  ติเตียนธรรมอันประเสริฐ
                   เที่ยวไปอยู่  ชนเหล่านั้น  ย่อมเข้าถึงโรรุว-

 นรกอันร้ายกาจ    ประสบทุกข์ตลอดกาล-
                   นาน ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประกอบ
                   ด้วยความอดทนและความสงบในธรรมอัน
                   ประเสริฐ   ชนทั้งหลายเหล่านั้น  ละร่างกาย
                   อันเป็นของมนุษย์   แล้วจักยังหมู่เทวดาให้
                   บริบูรณ์.
อรรถกถาปัชชุนนธีตุสูตร
         พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่  ๙  ต่อไป :-
         บทว่า  ปชฺชุนฺนสฺส  ธีตา   แปลว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ อธิบายว่า
ธิดาของท้าวจาตุมหาราชิกาผู้เป็นเทวราชของวัสสวลาหก ชื่อว่า  ท้าวปัชชุนนะ.
บทว่า   อภิวนฺเท   แปลว่า   ย่อมไหว้   อธิบายว่า   ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
หม่อมฉันย่อมไหว้พระยุคลบาทของพระองค์.     บทว่า    จกฺขุมตา    แปลว่า
ผู้มีจักษุ  อธิบายว่า   เทพธิดากล่าวว่า   สุนทรพจน์ว่า   ธรรมอันพระตถาคต
ผู้มีจักษุด้วยจักษุ*   ๕  ตามตรัสรู้แล้ว      หม่อมฉันได้ยินแล้วในสำนักแห่งชน
เหล่าอื่นอย่างเดียวเท่านั้น.  บทว่า  สาหํทานิ   ตัดบทเป็น  สา  อหํ  อิทานิ
แปลว่า   หม่อมฉันนั้น...ในกาลบัดนี้.   บทว่า  สกฺขิ  ชานามิ   แปลว่า
ย่อมรู้ประจักษ์  คือว่า  ย่อมรู้ประจักษ์  ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.  บทว่า
วิครหนฺตา   แปลว่า  ติเตียน  คือได้แก่  ติเตียนอย่างนี้ว่า  ธรรมนี้มีบทแห่ง
อักขระและพยัญชนะอันเลว  หรือว่า  ธรรมนี้ไม่เป็นนิยยานิกะ.  บทว่า  โรรุวํ
* จักษุ ๕ คือ มังสจักษุ, ทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ, และ สมันตจักษุ
แปลว่า   โรรุวนรก   อธิบายว่า   โรรุวนรก   มี ๒ คือ   ธูมโรรุวนรก    และ
ชาลโรรุวนรก.   ในนรก ๒ นั้น  ธูมโรรุวนรกมีอยู่ส่วนหนึ่ง   ก็คำว่า   ชาล-
โรรุวนรกนั้น  เป็นชื่อของอเวจีมหานรก.   เพราะว่า   ในโรรุวนรกนั้น    เมื่อ
ไฟโพลงอยู่ ๆ สัตว์ทั้งหลาย   ย่อมร้องบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น  นรกนั้น  ท่านจึง
เรียกว่า   โรรุวะ   ดังนี้.    บทว่า   โฆรํ    แปลว่า    ร้ายกาจ    ได้แก่  ทารุณ.
บทว่า     ขนฺติยา  อุปสเมน  อุเปตา   แปลว่า     ผู้ประกอบด้วยความอดทน
และความสงบ    อธิบายว่า    ครั้นชอบใจแล้ว     ครั้นอดทนแล้ว     จึงชื่อว่า
ประกอบแล้วด้วยขันติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
ดังนี้แล.
                              จบอรรถกถาปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่  ๙
 
Blogger Templates