วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ก็บุญเก่าของคฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.

ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
             [๓๙๐] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับในเวลาเที่ยงวัน ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า เชิญเถอะมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนหนอ ในเวลาเที่ยงวัน ฯ              พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว หม่อมฉันให้ขนทรัพย์สมบัติ อันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ก็คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลาย ข้าวกับน้ำส้มพอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่าๆ กั้นร่มทำด้วย ใบไม้ ฯ              [๓๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คฤหบดี ผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธะ นามว่า ตครสิขี ว่าท่านทั้งหลาย จงถวายบิณฑะแก่สมณะแล้วลุกจากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้น ถวายแล้ว ภายหลังได้มีวิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยัง ดีกว่า นอกจากนี้เขายังปลงชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์ สมบัติอีก ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดบิณฑบาต ถวายพระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธะ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้ครอง ความเป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้แหละถึง ๗ ครั้ง ฯ              ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายแล้วภายหลังได้มี วิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า ด้วยวิบากของกรรม นั้น จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไป เพื่อใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อใช้ยานพาหนะอัน โอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคเบญจกามคุณอันโอฬาร ฯ              ดูกรมหาบพิตร ก็แหละการที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ปลงชีวิตบุตรน้อย คนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงถูกไฟ เผาอยู่ในนรกหลายปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของ กรรมนั้นเหมือนกัน ทรัพย์สมบัติอันไม่มีบุตรรับมรดกของเขานี้ จึงถูกขนเข้า พระคลังหลวงเป็นครั้งที่ ๗ ฯ              ดูกรมหาบพิตร ก็บุญเก่าของคฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว และ บุญใหม่ก็ไม่ได้สะสมไว้ ฯ              ดูกรมหาบพิตร ก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี ถูกไฟเผาอยู่ใน มหาโรรุวนรก ฯ              พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐี เข้าถึงมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ ฯ              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่างนั้นมหาบพิตร คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี เข้า ถึงมหาโรรุวนรกแล้ว ฯ              [๓๙๒] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า                           ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือข้าวของ ที่หวงแหนอย่าง                           ใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของ                           เขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องถึงซึ่งการละทิ้งไว้                           ทั้งหมด ฯ                           ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรม                           นั้นแหละ เป็นของๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป                           อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น                           เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี สั่งสมไว้สำหรับภพหน้า                           บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า ฯ
จบ วรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกสมอ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.



ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
หรีตกิทายกเถราปทานที่ ๘
ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกสมอ
             [๒๘] เรากำลังนำผลสมอ ผลมะขามป้อม ผลมะม่วง ผลหว้า สมอพิเภก                           กระเบา ผลรกฟ้า มะตูมมาด้วยตนเอง เราได้เห็นพระมหามุนีผู้มี                           ปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์ ถูกอาพาธเบียดเบียน                           เสด็จเดินทางไกล ประทับอยู่ที่เงื้อมเขา จึงได้เอาผลสมอถวายแด่                           พระสยัมภู ก็พอเราทำเภสัชเสร็จแล้ว พยาธิหายไปในทันใดนั้น                           เอง พระพุทธเจ้าผู้มีความกระวนกระวายอันละได้แล้ว ได้ทรงทำ                           อนุโมทนาว่า ก็ด้วยการถวายเภสัชอันเป็นเครื่องระงับพยาธินี้                           ท่านเกิดเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ หรือจะเกิดในชาติอื่น จงเป็นผู้ถึง                           ความสุขในที่ทุกแห่ง และท่านอย่าถึงความป่วยไข้ ครั้นพระสยัมภู                           พุทธเจ้าผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร เป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้ว ได้                           เสด็จเหาะขึ้นสู่นภากาศ เหมือนพญาหงส์ในอัมพร ฉะนั้น                           เพราะเราได้ถวายสมอแด่พระสยัมภูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่                           ความป่วยไข้จึงมิได้เกิดแก่เราเลยจนถึงชาตินี้ นี้เป็นความเกิดครั้ง                           หลังของเรา ภพสุดท้ายกำลังเป็นไป วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว โดย                           ลำดับพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้                           ถวายเภสัชในกาลนั้น ด้วยการถวายเภสัชนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย                           นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา                           เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.              ทราบว่า ท่านพระหรีตกิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ หรีตกิทายกเถราปทาน.

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อนเป็นพุทธบูชา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.


ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
ติณสูลกฉาทนิยเถราปทานที่ ๓
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อนเป็นพุทธบูชา
             [๓] ครั้งนั้น เราได้พิจารณาถึงความเกิด ความแก่ และความตาย ผู้เดียว                           ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต เราเที่ยวไปโดยลำดับได้ไปถึงฝั่งแม่น้ำ                           คงคา ได้เห็นพื้นแผ่นดินที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น เรียบราบ สม่ำเสมอ                           จึงได้สร้างอาศรมขึ้นที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น อยู่ในอาศรมของเรา ที่จง                           กรมซึ่งประกอบด้วยหมู่นกนานาชนิด เราได้ทำไว้อย่างสวยงาม                           สัตว์ทั้งหลายอยู่ใกล้เรา และส่งเสียงน่ารื่นรมย์ เรารื่นรมย์อยู่กับ                           สัตว์เหล่านั้น อยู่ในอาศรม ที่ใกล้อาศรมของเรามีมฤคราชสี่เท้าออก                           จากที่อยู่แล้ว มันคำรามเหมือนอสนีบาต ก็เมื่อมฤคราชคำราม เรา                           เกิดความร่าเริง เราค้นหามฤคราชอยู่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้นำโชค                           ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้นำชั้นเลิศของโลกพระนามว่าติสสะ ผู้                           ประเสริฐกว่าเทวดาแล้ว เป็นผู้ร่าเริง มีจิตบันเทิง เอาดอกกากะทิง                           บูชาพระองค์ ได้ชมเชยพระผู้นำโลก ผู้เด่นเหมือนพระอาทิตย์ บาน                           เหมือนไม้พระยารัง รุ่งโรจน์เหมือนดาวประกายพฤกษ์ว่า พระองค์                           ผู้สัพพัญญู ทำข้าพระองค์พร้อมทั้งเทพยดาให้สว่าง ด้วยพระญาณ                           ของพระองค์ บุคคลทำให้พระองค์โปรดปรานแล้ว ย่อมพ้นจากชาติ                           ได้ เพราะไม่ได้เฝ้าพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งปวง สัตว์                           ทั้งหลายที่ถูกราคะและโทสะทับถม จึงพากันตกนรกอเวจี เพราะ                           อาศัยการได้เข้าเฝ้าพระองค์ผู้สัพพัญญูนายกของโลก สัตว์ทั้งปวงจึง                           หลุดพ้นจากภพ ย่อมถูกต้องอมตบทเมื่อใด พระพุทธเจ้าผู้มีพระ                           ปัญญาจักษุ เปล่งรัศมี อุบัติขึ้น เมื่อนั้นพระองค์ทรงเผากิเลสแล้ว                           ทรงแสดงแสงสว่าง เราได้กล่าวสดุดีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า                           ติสสะ ผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกแล้ว เป็นผู้ร่าเริง มีจิตบันเทิง                           เอาดอกมะลิซ้อนบูชาพระองค์ พระพุทธเจ้า พระนามว่าติสสะ ผู้                           นำชั้นเลิศของโลก ทรงทราบความดำริของเรา ประทับนั่งบนอาสนะ                           ของพระองค์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดเป็นผู้เลื่อมใส                           ได้เอาดอกไม้บังเราด้วยมือของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน                           ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๒๕ ครั้ง                           จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราช                           อันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ ผลแห่งกรรมนั้น เป็นผลแห่งการ                           บูชาด้วยดอกไม้ ก็บุรุษที่ได้เอาดอกไม้บังเราทั้งเย็นและเช้า เป็นผู้                           ประกอบด้วยบุญกรรม จักปรากฏต่อไปข้างหน้า เขาปรารถนาสิ่ง                           ใดๆ สิ่งนั้นๆ จักปรากฏตามความประสงค์ เขาทำความดำริชอบให้                           บริบูรณ์แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เขาเผากิเลส มีสติ                           สัมปชัญญะ นั่งบนอาสนะเดียว บรรลุอรหัตได้ เราเมื่อเดิน ยืน                           นั่ง หรือนอน ย่อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดอยู่ทุกขณะ                           ความพร่องในปัจจัยนั้นๆ คือ จีวร บิณฑบาต ที่นอนที่นั่ง และ                           คิลานปัจจัย มิได้มีแก่เรา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา บัดนี้ เราบรรลุ                           อมตบทอันสงบระงับ เป็นธรรมยอดเยี่ยม กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง                           แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ                           พุทธเจ้าอันใด ด้วยการบูชานั้น เราจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง                           พุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว                           ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่                           เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ                           วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ                           แล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖                           เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราทำเสร็จแล้ว ดังนี้.              ทราบว่า ท่านพระติณสูลกฉาทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติณสูลกฉานิยเถราปทาน.

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย 
เล่ม ๗๒.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ หน้า ๘๔ 

ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
ชาติปุปผิยเถราปทานที่ ๘  (๔๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้
                    [๔๘]   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
           ว่าปทุมุตตระ  ผู้มีพระยศใหญ่   ปรินิพพานแล้ว
           เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม้ไปบูชาพระสรีระ
                   เรายังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้น  แล้ว
           ได้ไปสู่สวรรค์ ชั้นนิมมานรดี     เราถึงจะไปอยู่ยัง
           เทวโลก   ก็ยังประพฤติบุญกรรมอยู่
           ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้าเพื่อเราตลอด
           กาลทั้งปวง     เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระราชา
           ผู้มียศใหญ่
                   ในอัตภาพนั้น  ฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อ
           เราทุกเมื่อ   เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระ-
           กายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นเหตุทั้งปวง
                   นี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้ายของเรา    ภพ
           ที่สุดกำลังเป็นไป  ถึงทุกวันนี้  ฝนดอกไม้ถึงตกลง
           มาเพื่อเราทุกเวลา
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้    เราเอาดอกไม้ใด
                      บูชา    ด้วยการบูชาด้วยดอกไม้นั้น      เราไม่รู้จัก
                      ทุคติเลย  นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ
                                เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน
                      ของพระพุทธเจ้า   เราได้ทำเสร็จแล้ว   ดังนี้.
            ทราบว่า  ท่านพระชาติปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้  ด้วยประการ
ฉะนี้แล.

ว่าด้วยผลแห่งการพรวนดินโคนต้นโพธิ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.


ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร


คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
ชคติวรรคที่ ๔๖
ชคติทายกเถราปทานที่ ๑
ว่าด้วยผลแห่งการพรวนดินโคนต้นโพธิ
             [๔๑] เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ใช้ให้คนพรวนดินที่ไม้โพธิพฤกษ์                           ของพระมหามุนีพระนามว่าธัมมทัสสี อันเป็นต้นไม้สูงสุดกว่าไม้                           ทั้งหลาย เราพลาดจากภูเขาหรือตกจากต้นไม้จุติแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง                           นี้เป็นผลของดิน โจรไม่เบียดเบียนเรา กษัตริย์ก็ไม่ดูหมิ่นเรา เรา                           ก้าวล่วงข้าศึกได้ทุกคน นี้เป็นผลของดิน เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ                           เทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ เราย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาทุกแห่ง                           ไป นี้ก็เป็นผลของดิน ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ใช้ให้คนพรวนดิน                           ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของดิน เราเผากิเลส                           ทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.              ทราบว่า ท่านพระชคติทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ชคติทายกเถราปทาน.

เรื่องปลาชื่อกปิละ (ภิกษุกปิละเกิดในอเวจีมหานรก) คนที่เผยแพร่ธรรมะ ควรอ่านอย่างยิ่ง

ส่วนใครอยากอ่าน เรื่องปลาชื่อกปิละ ในพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
หาอ่านได้ที่ เล่ม๔๓.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ หน้า๒๗๑


ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร


คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.

 ๒๔. ตัณหาวรรควรรณนา              
               ๑. เรื่องปลาชื่อกปิละ [๒๔๐]              
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปลาชื่อกปิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มนุชสฺส" เป็นต้น.

               สองพี่น้องออกบวช               
               ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ปรินิพพานแล้ว กุลบุตรสองคนพี่น้องออกบวชในสำนักแห่งพระสาวกทั้งหลาย. 
               บรรดากุลบุตรสองคนนั้น คนพี่ได้ชื่อว่าโสธนะ คนน้องชื่อกปิละ. ส่วนมารดาของคนทั้งสองนั้น ชื่อว่าสาธนี น้องสาวชื่อตาปนา. แม้หญิงทั้งสองนั้นก็บวชแล้วใน (สำนัก) ภิกษุณี. 
               เมื่อคนเหล่านั้นบวชแล้วอย่างนั้น พี่น้องทั้งสองทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌายะอยู่ วันหนึ่ง ถามว่า "ท่านขอรับ ธุระในพระศาสนานี้มีเท่าไร?" ได้ยินว่า "ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ ๑ วิปัสสนาธุระ ๑" ภิกษุผู้เป็นพี่คิดว่า "เราจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และพระอุปัชฌายะ ๕ พรรษาแล้ว เรียนกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต เข้าไปสู่ป่า พยายามอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตผล.

               น้องชายเมาในคันถธุระ               
               ภิกษุน้องชายคิดว่า "เรายังหนุ่มก่อน ในเวลาแก่จึงจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" จึงเริ่มตั้งคันถธุระ เรียนพระไตรปิฎก. บริวารเป็นอันมากได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยปริยัติของเธอ ลาภก็ได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยบริวาร. เธอเมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นผู้สดับมาก อันความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว 
               เพราะเป็นผู้สำคัญตัวว่าฉลาดยิ่ง ย่อมกล่าวแม้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ อันคนเหล่าอื่นกล่าวแล้วว่า "เป็นอกัปปิยะ" กล่าวแม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่า "เป็นกัปปิยะ" กล่าวแม้สิ่งที่มีโทษว่า "ไม่มีโทษ" กล่าวแม้สิ่งไม่มีโทษว่า "มีโทษ" 
               เธอ แม้อันภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลายกล่าวว่า "คุณกปิละ คุณอย่าได้กล่าวอย่างนี้" แล้วแสดงธรรมและวินัยกล่าวสอนอยู่ ก็กล่าวว่า "พวกท่านจะรู้อะไร? พวกท่านเช่นกับกำมือเปล่า" เป็นต้นแล้ว ก็เที่ยวขู่ตวาดภิกษุทั้งหลายอยู่.

               น้องชายไม่เชื่อพี่               
               ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายบอกเนื้อความนั้นแม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายของเธอแล้ว. แม้พระโสธนะเถระเข้าไปหาเธอแล้ว ตักเตือนว่า "คุณกปิละ ก็การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายผู้เช่นเธอ ชื่อว่าเป็นอายุพระศาสนา เพราะฉะนั้น เธออย่าได้ละการปฏิบัติชอบแล้ว กล่าวคัดค้านสิ่งที่เป็นกัปปิยะเป็นต้นอย่างนั้นเลย." เธอมิได้เอื้อเฟื้อถ้อยคำแม้ของท่าน แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ พระเถระก็ตักเตือนเธอ ๒-๓ ครั้ง ทราบเธอผู้ไม่รับคำตักเตือนว่า "ภิกษุนี้ไม่ทำตามคำของเรา" จึงกล่าวว่า "คุณ ถ้าดังนั้น เธอจักปรากฏด้วยกรรมของตน" ดังนี้แล้วหลีกไป.

               น้องชายเสียคนเพราะถูกทอดทิ้ง               
               จำเดิมแต่นั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักแม้เหล่าอื่น ทอดทิ้งเธอแล้ว. เธอเป็นผู้มีความประพฤติชั่วอันพวกผู้มีความประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่ 
               วันหนึ่ง คิดว่า "เราจักสวดปาติโมกข์" จึงถือพัดไปนั่งบนธรรมาสน์ในโรงอุโบสถแล้ว ถามว่า "ผู้มีอายุ ปาติโมกข์ย่อมเป็นไปเพื่อภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในที่นี้หรือ?" เห็นภิกษุทั้งหลายนิ่งเสีย ด้วยคิดว่า "ประโยชน์อะไรด้วยคำโต้ตอบที่เราให้แก่ภิกษุ?" จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ไม่มี, ประโยชน์อะไรด้วยปาติโมกข์ที่พวกท่านจะฟังหรือไม่ฟัง" ดังนี้แล้ว ก็ลุกไปจากอาสนะ. 
               เธอยังศาสนา คือปริยัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ให้เสื่อมลงแล้วด้วยอาการอย่างนี้. 
               แม้พระโสธนเถระก็ปรินิพพานในวันนั้นเอง. 
               ในกาลสิ้นอายุ ภิกษุกปิละเกิดในอเวจีมหานรก. มารดาและน้องสาวของเธอแม้นั้น ถึงทิฏฐานุคติของเธอนั่นแล ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักแล้ว ก็บังเกิดในอเวจีมหานรกนั้นเหมือนกัน.

               โจรเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจของศีล               
               ก็ในกาลนั้น บุรุษ ๕๐๐ คนทำโจรกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น เป็นอยู่ด้วยกิริยาของโจร ถูกพวกมนุษย์ในชนบทตามจับแล้ว หนีเข้าป่า ไม่เห็นที่พึ่งอะไรในป่านั้น เห็นภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ไหว้แล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าเถิด." 
               พระเถระกล่าวว่า "ชื่อว่าที่พึ่งเช่นกับศีล ย่อมไม่มีแก่ท่านทั้งหลาย, พวกท่านแม้ทั้งหมดจงสมาทานศีล ๕ เถิด." 
               โจรเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว สมาทานศีลทั้งหลาย. 
               ลำดับนั้น พระเถระตักเตือนโจรเหล่านั้นว่า "บัดนี้ พวกท่านเป็นผู้มีศีล พวกท่านไม่ควรล่วงศีลแม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย ความประทุษร้ายทางใจ ก็ไม่ควรทำ" 
               โจรเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" แล้ว. 
               ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่านั้น (มา) ถึงที่นั้นแล้ว ค้นหาข้างโน้นข้างนี้ พบโจรเหล่านั้นแล้ว ก็ช่วยกันปลงชีวิตเสียทั้งหมด. พวกโจรเหล่านั้นทำกาละแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก. หัวหน้าโจรได้เป็นหัวหน้าเทพบุตร.

               เทพบุตรถือปฏิสนธิในตระกูลชาวประมง               
               เทพบุตรเหล่านั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดแล้วในบ้านชาวประมง ๕๐๐ ตระกูลใกล้ประตูพระนครสาวัตถี. หัวหน้าเทพบุตรถือปฏิสนธิในเรือนของหัวหน้าชาวประมง, พวกเทพบุตรนอกนี้ ถือปฏิสนธิในเรือนชาวประมงนอกนี้. การถือปฏิสนธิและการออกจากท้องมารดาแห่งชนเหล่านั้น ได้มีแล้วในวันเดียวกันทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้. 
               หัวหน้าชาวประมงให้คนเที่ยวแสวงหาว่า "พวกทารกแม้เหล่าอื่นในบ้านนี้ เกิดแล้วในวันนี้มีอยู่บ้างไหม?" ได้ยินความที่ทารกเหล่านั้นเกิดแล้ว จึงสั่งให้ๆ ทรัพย์ค่าเลี้ยงดูแก่ชาวประมงเหล่านั้น ด้วยตั้งใจว่า "พวกทารกนั้น จักเป็นสหายของบุตรเรา" 
               ทารกเหล่านั้นแม้ทุกคนเป็นสหายเล่นฝุ่นร่วมกัน ได้เป็นผู้เจริญวัยโดยลำดับแล้ว บรรดาเด็กเหล่านั้น บุตรของหัวหน้าชาวประมงได้เป็นผู้เยี่ยมโดยยศและอำนาจ.

               กปิละเกิดเป็นปลาใหญ่               
               แม้ภิกษุกปิละไหม้ในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่งแล้ว ในกาลนั้น บังเกิดเป็นปลาใหญ่ในแม่น้ำอจิรวดี มีสีเหมือนทองคำ มีปากเหม็น ด้วยเศษแห่งวิบาก. 
               ต่อมาวันหนึ่ง สหายเหล่านั้นปรึกษากันว่า "เราจักจับปลา" จึงถือเอาเครื่องจับสัตว์น้ำมีแหเป็นต้นทอดไปในแม่น้ำ. ทีนั้น ปลานั้นได้เข้าไปสู่ภายในแหของคนเหล่านั้น. ชาวบ้านประมงทั้งหมดเห็นปลานั้นแล้ว ได้ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า "ลูกของพวกเรา เมื่อจับปลาครั้งแรก จับได้ปลาทองแล้ว คราวนี้ พระราชาจักพระราชทานทรัพย์แก่เราเพียงพอ." สหายแม้เหล่านั้นแล เอาปลาใส่เรือ ยกเรือขึ้นแล้วก็ไปสู่พระราชสำนัก. 
               แม้เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นปลานั้น ตรัสว่า "นั่นอะไร?" พวกเขาได้กราบทูลว่า "ปลา พระเจ้าข้า." พระราชาทอดพระเนตรเห็นปลามีสีเหมือนทองคำ ทรงดำริว่า "พระศาสดาจักทรงทราบเหตุที่ปลานั่นเป็นทองคำ" ดังนี้แล้ว รับสั่งให้คนถือปลา ได้เสด็จไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อปากอันปลาพออ้าเท่านั้น พระเชตวันทั้งสิ้นได้มีกลิ่นเหม็นเหลือเกิน. 
               พระราชาทูลถามพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า เพราะเหตุไร ปลาจึงมีสีเหมือนทองคำ? และเพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของมัน?" 
               พระศาสดา. มหาบพิตร ปลานี้ได้เป็นภิกษุชื่อกปิละ เป็นพหูสูต มีบริวารมาก ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป, ถูกความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว ด่าบริภาษพวกภิกษุผู้ไม่ถือคำของตน ยังพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ให้เสื่อมลงแล้ว. เขาบังเกิดในอเวจีด้วยกรรมนั้นแล้ว บัดนี้ เกิดเป็นปลาด้วยเศษแห่งวิบาก ก็เพราะเธอบอกพระพุทธวจนะ กล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน จึงได้อัตภาพมีสีเหมือนทองคำนี้ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เธอได้เป็นผู้บริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของเธอ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น มหาบพิตร อาตมภาพจะให้ปลานั้นพูด. 
               พระราชา. ให้พูดเถิด พระเจ้าข้า. 
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามปลาว่า "เจ้าชื่อกปิละหรือ?" 
               ปลา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อกปิละ. 
               พระศาสดา. เจ้ามาจากที่ไหน? 
               ปลา. มาจากอเวจีมหานรก พระเจ้าข้า. 
               พระศาสดา. พระโสธนะพี่ชายใหญ่ของเจ้าไปไหน? 
               ปลา. ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า. 
               พระศาสดา. ก็นางสาธนีมารดาของเจ้าเล่าไปไหน? 
               ปลา. เกิดในนรก พระเจ้าข้า. 
               พระศาสดา. นางตาปนาน้องสาวของเจ้าไปไหน? 
               ปลา. เกิดในมหานรก พระเจ้าข้า. 
               พระศาสดา. บัดนี้ เจ้าจักไปที่ไหน? 
               ปลาชื่อกปิละกราบทูลว่า "จักไปสู่อเวจีมหานรกดังเดิม พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว อันความเดือดร้อนครอบงำแล้ว เอาศีรษะฟาดเรือ ทำกาละในทันทีนั่นเอง เกิดในนรกแล้ว. 
               มหาชนได้สลดใจมีโลมชาติชูชันแล้ว.

               พระศาสดาตรัสกปิลสูตร               
               ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูวาระจิตของบริษัทผู้ประชุมกันในขณะนั้น เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้สมควรแก่ขณะนั้น จึงตรัสกปิลสูตรในสุตตนิบาต๑- ว่า 
               "นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวการประพฤติธรรม ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑ นั่นว่า เป็นแก้วอันสูงสุด" 
____________________________ 
๑- ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๒๑. ธรรมจริยสูตร. 

               ดังนี้เป็นต้นแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :- 
                         ๑.                 มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน
                                        ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย
                                        โส ปลวตี หุราหุรํ
                                        ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโร.
                         ยํ เอสา สหตี ชมฺมี    ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา
                         โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ    อภิวฑฺฒํว พีรณํ.
                         โย เจ ตํ สหตี ชมฺมึ    ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ
                         โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ    อุทพินฺทุว โปกฺขรา.
                         ตํ โว วทามิ ภทฺทํ โว    ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา
                         ตณฺหาย มูลํ ขณถ    อุสีรตฺโถว พีรณํ.
                         มา โว นฬํ ว โสโตว    มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ.
                                   ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติ
                         ประพฤติประมาท. เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดัง
                         วานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น. ตัณหานี้
                         เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ใน
                         โลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญ
                         แก่บุคคลนั้น, ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรด แล้วงอกงาม
                         อยู่ ฉะนั้น. แต่ผู้ใดย่อมย่ำยีตัณหานั่นซึ่งเป็นธรรมชาติ
                         ลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้, ความโศกทั้งหลาย
                         ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัว
                         ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า ความ
                         เจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันแล้ว ณ
                         ที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหาเสียเถิด, ประหนึ่งผู้
                         ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางเสียฉะนั้น, มารอย่าระราน
                         ท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตจาริโน ความว่า ฌานไม่เจริญเทียว วิปัสสนา มรรคและผล ก็ไม่เจริญ แก่บุคคลผู้มีปกติประพฤติประมาท ด้วยความประมาท มีการปล่อยสติเป็นลักษณะ. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า เครือเถาย่านทรายร้อยรัด รึงรัดต้นไม้อยู่ ย่อมเจริญเพื่อความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด ตัณหาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเจริญแก่บุคคลนั้น เพราะอาศัยทวารทั้ง ๖ เกิดขึ้นบ่อยๆ. 
               บาทพระคาถาว่า โส ปริปฺลวติ๑- หุราหุรํ ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา ย่อมเร่ร่อนคือแล่นไปในภพน้อยใหญ่. 
               ถามว่า "เขาย่อมเร่ร่อนไปเหมือนอะไร?" 
               แก้ว่า "เหมือนวานรตัวปรารถนาผลไม้ โลดไปในป่าฉะนั้น." 
               อธิบายว่า วานรเมื่อปรารถนาผลไม้ ย่อมโลดไปในป่า, มันจับกิ่งไม้นั้นๆ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งแม้นั้นแล้ว จับกิ่งอื่น ย่อมไม่ถึงความเป็นสัตว์ที่บุคคลควรกล่าวได้ว่า "มันไม่ได้กิ่งไม้จึงนั่งเจ่าแล้ว" ฉันใด บุคคลผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้ที่ใครๆ ควรพูดได้ว่า "เขาไม่ได้อารมณ์แล้ว จึงถึงความไม่เป็นไปตามความทะเยอทะยาน." 
____________________________ 
๑- บาลีเป็น ปลวตี. 

               บทว่า ยํ เป็นต้น ความว่า ตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ชื่อว่าลามก เพราะความเป็นของชั่ว ถึงซึ่งอันนับว่า ‘วิสตฺติกา’ เพราะความที่ตัณหานั้น เป็นธรรมชาติซ่านไป คือว่าข้องอยู่ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น โดยความเป็นดุจอาหารเจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจดอกไม้เจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจผลไม้เจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจเครื่องบริโภคเจือด้วยพิษ ย่อมครอบงำบุคคลใด, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมเจริญยิ่งในภายในของบุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ฝนตกรดอยู่บ่อยๆ ย่อมงอกงามในป่าฉะนั้น. 
               บทว่า ทุรจฺจยํ เป็นต้น ความว่า ก็บุคคลใด ย่อมข่ม คือย่อมครอบงำตัณหานั่น คือมีประการที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่ายากที่ใครจะล่วงได้ เพราะเป็นของยากจะก้าวล่วงคือละได้, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น คือไม่ตั้งอยู่ได้เหมือนหยาดน้ำตกไปบนใบบัว คือบนใบดอกปทุม ไม่ติดอยู่ได้ฉะนั้น. 
               หลายบทว่า ตํ โว วทามิ คือ เพราะเหตุนั้น เราขอกล่าวกะท่านทั้งหลาย. 
               สองบทว่า ภทฺทํ โว ความว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ถึงความพินาศดุจกปิลภิกษุรูปนี้. 
               บทว่า มูลํ เป็นต้น ความว่า ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา อันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยพระอรหัตมรรค. 
               ถามว่า "ขุดรากแห่งตัณหานั้น เหมือนอะไร?" 
               แก้ว่า "เหมือนผู้ต้องการแฝกขุดหญ้าคมบางฉะนั้น." 
               อธิบายว่า บุรุษผู้ต้องการแฝก ย่อมขุดหญ้าคมบางด้วยจอบใหญ่ฉันใด ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหานั้นเสียฉันนั้น. 
               สองบาทคาถา๒- ว่า มา โว นฬํว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ ความว่า กิเลสมาร มรณมาร และเทวบุตรมาร จงอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ เหมือนกระแสน้ำพัดมาโดยกำลังแรง ระรานไม้อ้อซึ่งเกิดอยู่ริมกระแสน้ำฉะนั้น. 
               ในกาลจบเทศนา บุตรของชาวประมงทั้ง ๕๐๐ ถึงความสังเวช ปรารถนาการทำที่สุดแห่งทุกข์ บวชในสำนักพระศาสดา ทำที่สุดแห่งทุกข์ต่อกาลไม่นานเท่าไร ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็นอันเดียว โดยธรรมเป็นเครื่องบริโภค คืออเนญชวิหารธรรมและสมาปัตติธรรม ร่วมกับพระศาสดา ดังนี้แล. 
____________________________ 
๒- กึ่งพระคาถาสุดท้าย.

               เรื่องปลาชื่อกปิละ จบ.              
               --------------------------------------               

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
เล่มที่๔๓.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ หน้า๓๒๓



ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด


๑๐.  เรื่องท้าวสักกเทวราช  [๒๔๙]
ข้อความเบื้องต้น
        พระศาสดา   เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน    ทรงปรารภท้าวสักก-
เทวราช  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  " สพฺพทานํ "   เป็นต้น.
ปัญหา  ๔  ข้อของเทวดา
        ความพิสดารว่า    ในสมัยหนึ่ง    เทพดาในดาวดึงสเทวโลกประชุม
กันแล้ว  ตั้งปัญหาขึ้น  ๔  ข้อว่า    " บรรดาทานทั้งหลาย  ทานชนิดไหน
หนอแล  ?    บัณฑิตกล่าวว่าเยี่ยม,   บรรดารสทั้งหลาย  รสชนิดไหน ?
บัณฑิตกล่าวว่ายอด,    บรรดาความยินดีทั้งหลาย  ความยินดีชนิดไหน ?
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ,  ความสิ้นไปแห่งตัณหาแล  บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐ
ที่สุด  เพราะเหตุไร ?   แม้เทพดาองค์หนึ่ง    ก็มิสามารถจะวินิจฉัยปัญหา
เหล่านั้นได้.   ก็เทพดาองค์หนึ่ง  ถามกะเทพดาองค์หนึ่ง,  แม้เทพดาองค์นั้น
ก็ถามเทพดาองค์อื่นอีก,   ก็เทพดาทั้งหลาย     ถามกันและกันอย่างนั้น  ด้วย
อาการอย่างนั้น   ได้ท่องเที่ยวไปในหมื่นจักรวาลถึง ๑๒ ปี.
เทวดาพากันไปถามปัญหาท้าวมหาราชทั้ง  ๔
        เทวดาในหมื่นจักรวาล      ไม่เห็นเนื้อความแห่งปัญญาโดยกาลแม้มี
ประมาณเท่านี้  ประชุมกันแล้ว   ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง  ๔,  เมื่อ
ท้าวมหาราชกล่าวว่า    " พ่อทั้งหลาย    ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่  ?"
จึงกล่าวว่า  " พวกผมตั้งปัญหาขึ้น  ๔  ข้อแล้ว   เมื่อไม่สามารถจะวินิจฉัยได้
จึงมายังสำนักของท่าน,"    เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า  "ชื่อปัญหาอะไรกัน ?
พ่อ "  (จึงบอกเนื้อความนั้น)  ว่า   " พวกผมไม่สามารถวินิจฉัยปัญหา

เหล่านี้ได้ คือ  ' บรรดาทาน  รส   และความยินดี  ทาน  รส  และความยินดี
ชนิดไหนหนอแล  ประเสริฐสุด ?  ความสิ้นไปแห่งตัณหาเทียว  ประเสริฐ
สุด   เพราะเหตุไร ?"   จึงมาหา.
        ท้าวมหาราชทั้ง  ๘ กล่าวว่า  " พ่อทั้งหลาย  แม้พวกเราก็หารู้เนื้อ
ความแห่งปัญหาเหล่านี้ไม่;  แต่พระราชาของพวกเรา  ทรงดำริอรรถที่ชน
ตั้งพันคิดแล้ว    ย่อมทรงทราบโดยขณะเดียวเท่านั้น,     พระองค์ประเสริฐ
วิเศษกว่าพวกเราทั้งหลาย    ทั้งทางปัญญาและทางบุญ,    พวกเราจงไปยัง
สำนักของพระองค์เถิด"  แล้วพาหมู่เทพดานั้นนั่นแลไปยังสำนักของท้าว-
สักกเทวราช,   ถึงเมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสว่า   " พ่อทั้งหลาย   ทำไม
จึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่ ? "  ก็กราบทูลเนื้อความนั้น.
ท้าวสักกะทรงพาพวกเทวดาไปเฝ้าพระศาสดา
        ท้าวสักกะตรัสว่า   " พ่อทั้งหลาย  คนอื่นย่อมไม่สามารถรู้เนื้อความ
แห่งปัญหาเหล่านี้ได้,    ปัญหาเหล่านั่น   เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า,   แล้ว
ตรัสถามว่า   " ก็เดี๋ยวนี้   พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน ?"  ทรงสดับว่า
" ในพระเชตวันวิหาร"  จึงตรัสว่า  " พวกเธอมาเถิด,   พวกเราจักไปยัง
สำนักของพระองค์"     ทรงพร้อมด้วยหมู่เทพดา    ให้พระเชตวันทั้งสิ้น
สว่างไสวในส่วนแห่งราตรี   เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ถวายบังคมแล้ว  ประทับ
ยืนอยู่  ณ  ส่วนข้างหนึ่ง,    เมื่อพระศาสดาตรัสว่า   " มหาบพิตร   ทำไม
พระองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับหมู่เทพดามากมาย  ?"  จึงกราบทูลว่า  "พระ-
เจ้าข้า   หมู่เทพดาพากันตั้งปัญหาชื่อเหล่านี้,   คนอื่นที่ชื่อว่าสามารถรู้เนื้อ
ความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้   หามีไม่,  ขอพระองค์ได้ทรงประกาศเนื้อความ
แห่งปัญหาเหล่านี้    แก่พวกข้าพระองค์เถิด."
พระศาสดาทรงแก้ปัญหา
        พระศาสดาตรัสว่า   "  ดีละ  มหาบพิตร   ตถาคตบำเพ็ญบารมี  ๓๐
ทัศ   บริจาคมหาบริจาค    แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว  ก็เพื่อตัด
ความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ,   ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่
พระองค์ถามแล้วเถิด:  บรรดาทานทุกชนิด  ธรรมทานเป็นเยี่ยม,  บรรดา
รสทุกชนิด  รสแห่งพระธรรมเป็นยอด,   บรรดาความยินดีทุกชนิด  ความ
ยินดีในธรรมประเสริฐ,     ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้
เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต"     ดังนี้แล้ว   ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
                ๑๐.        สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ
                        สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ
                        สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ
                        ตณฺหกฺขโย   สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.
        "  ธรรมทาน   ย่อมชนะทานทั้งปวง,    รสแห่ง
        ธรรม     ย่อมชนะรสทั้งปวง,   ความยินดีในธรรม
        ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,  ความสิ้นไปแห่งตัณหา
        ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."
แก้อรรถ
        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สพฺพทานํ  เป็นต้น  ความว่า  ก็ถ้า
บุคคลถึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน   แด่พระพุทธเจ้าพระปัจเจก-
พุทธเจ้าแล้วพระขีณาสพทั้งหลาย  ผู้นั่งติด ๆ  กัน   ในห้องจักรวาลตลอด
๑. หมายถึงบริจาค ๕ คือ :- ๑. องฺคปริจฺจาค บริจาคอวัยวะ. ๒. ธนปริจาค บริจาค
ทรัพย์. ๓. ปุตฺตปริจฺจาค บริจาคบุตร. ๔. ทารปริจฺจาค บริจาคเมีย. ๕. ชีวิตปริจฺจาค
บริจาคชีวิต.
ถึงพรหมโลก.     การอนุโมทนาเทียว    ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วย
พระคาถา ๔  บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ;    ก็ทานนั้น    หามีค่าถึงเสี้ยว
ที่ ๑๖  แห่งพระคาถานั้นไม่:    การแสดงก็ดี  การกล่าวสอนก็ดี  การสดับ
ก็ดี  ซึ่งธรรม  เป็นของใหญ่   ด้วยประการฉะนี้.    อนึ่ง  บุคคลใดให้ทำ
การฟังธรรม,   อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้.    ธรรมทาน
นั่นแหละ  ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว  แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนา
โดยที่สุดด้วยพระคาถา  ๔   บาท  ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตร
ให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละ
บ้าง   กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้น
แล้วถวายบ้าง     กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหาร
และปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายบ้าง  กว่าการบริจาค
ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลายแล้วทำบ้าง.     เพราะ
เหตุไร ?   เพราะว่าชนทั้งหลาย   เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น    ต่อฟังธรรม
แล้วเท่านั้นจึงทำได้.   ไม่ได้ฟัง   ก็หาทำได้;   ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึง
ฟังธรรมไซร้,     เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง    ภัต
ประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง;  เพราะเหตุนี้    ธรรมทานนั่นแหละ   จึงประเสริฐ
ที่สุดกว่าทานทุกชนิด.
        อีกอย่างหนึ่ง     เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย     แม้
พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น  ผู้ประกอบด้วยปัญญา  ซึ่งสามารถ
นับหยาดน้ำได้    ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น    ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุ
โสดาปัตติผลเป็นต้น    โดยธรรมดาของตนได้;     ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิ-
เถระเป็นต้นแสดงแล้ว   จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล,     และทำให้แจ้งซึ่ง
สาวกบารมีญาณ   ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา;   เพราะเหตุแม้นี้
มหาบพิตร   ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด.  เพราะเหตุนั้น  พระ-
ศาสดาจึงตรัสว่า  "สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ. "
        อนึ่ง   รสมีรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้นทุกชนิด     โดยส่วนสูงแม้รสแห่ง
สุธาโภชน์ของเทพดาทั้งหลาย    ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยิ่งสัตว์ให้ตกไปใน
สังสารวัฏ   แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.    ส่วนพระธรรมรสกล่าวคือโพธิปักขิย-
ธรรม  ๓๗  ประการ       และกล่าวคือโลกุตรธรรม  ๙  ประการนี้แหละ
ประเสริฐกว่ารสทั้งปวง.   เพราะเหตุนั้น  พระศาสดาจึงตรัสว่า " สพฺพรสํ
ธมฺมรโส  ชินาติ."
        อนึ่ง  แม้ความยินดีในบุตร   ความยินดีในธิดา  ความยินดีในทรัพย์
 ความยินดีในสตรี  และความยินดีมีประเภทมิใช่อย่างเดียวอันต่างด้วยความ
ยินดีในการฟ้อนการขับการประโคมเป็นต้น        ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยัง
สัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ    แล้วเสวยทุกข์โดยแท้;  ส่วนความอิ่มใจ  ซึ่ง
เกิดขึ้น  ณ ภายในของผู้แสดงก็ดี   ผู้ฟังก็ดี   ผู้กล่าวสอนก็ดี  ซึ่งธรรม  ย่อม
ให้เกิดความเบิกบานใจ   ให้น้ำตาไหล   ให้เกิดขึ้นชูชัน   ความอิ่มใจนั้น
ย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ      มีพระอรหัตเป็นปริโยสาน;     ความยินดีใน
ธรรม  เห็นปานนี้แหละ   ประเสริฐกว่าความยินดีทั้งปวง.   เพราะเหตุนั้น
พระศาสดา  จึงตรัสว่า "สพฺพรตึ  ธมฺมรติ  ชินาติ."
        ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา      คือพระอรหัตซึ่งเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง
๑. น่าจะเป็นบทเกิน, เพราะใครไม่สามารถทำเนื้อความเช่นนี้ ให้พระดำรัสของพระศาสดาได้.
๒. Celestial food ambrosia อาหารทิพย์ (อาหารของเทพดาในเรื่องนิยาย
ถือกันว่าทำให้ผู้บริโภคไม่ตาย ให้ความงามและความหนุ่มสาวอยู่ชั่วนิรันดร) ของเกินเครื่องดื่ม
อันโอชารส.
ความสิ้นไปแห่งตัณหา,  พระอรหัตนั้น   ประเสริฐกว่าทุกอย่างแท้  เพราะ
ครอบงำวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.     เพราะเหตุนั้น     พระศาสดาจึงตรัสว่า
" ตณฺหกฺขโย  สพฺพทุกฺขํ  ชินาติ."
        เมื่อพระศาสดา    ตรัสเนื้อความแห่งพระคาถานี้    ด้วยประการฉะนี้
อยู่นั่นแล   ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔  พันแล้ว.
        แม้ท้าวสักกะ  ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา  ถวายบังคมพระ-
ศาสดาแล้ว  ทูลว่า พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร  พระองค์จึงไม่รับสั่งให้
ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์ ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้ ?  จำเดิม
แต่นี้ไป    ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์แล้วรับสั่งให้ ๆ ส่วน
บุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด  พระเจ้าข้า."    พระศาสดา    ทรงสดับคำของ
ท้าวเธอแล้ว  รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว    ตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี  การฟังธรรมตาม
ปกติก็ดี   กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี    โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา    แล้วพึง
ให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง."
                    เรื่องท้าวสักกเทวราช  จบ.
 
Blogger Templates