วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยผลบุญของผู้บูชาบุคคลผู้ควรบูชาไม่อาจนับได้

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
เล่ม ๗๑.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒  หน้า๓๒๘



ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด


สุธาวรรคที่  ๑๐
สุธาปิณฑิยเถราปทานที่  ๑  (๙๑)
ว่าด้วยผลบุญของผู้บูชาบุคคลผู้ควรบูชาไม่อาจนับได้
     [๙๓]  ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาพระพุทธเจ้า พระ-
        ปัจเจกพุทธเจ้า   หรือพระสาวก   ผู้สมควรบูชา   ผู้ล่วงธรรม
        เครื่องให้เนิ่นช้า   ผู้ข้ามความโศกและความร่ำไรแล้ว    ว่าบุญ
        นี้มีประมาณเท่านี้ได้.
                     ใคร ๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคล    ผู้บูชาปูชารหบุคคล
        เหล่านั้น  เช่นนั้น  ผู้ดับแล้ว   ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ  ว่าบุญนี้
        มีประมาณเท่านี้ได้.
                     การที่บุคคลในโลกนี้         ฟังให้ทำความเป็นใหญ่ในทวีป
        ทั้ง ๔ นี้   ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการบูชานี้.
                     เรามีใจผ่องใส     ได้ใส่ก้อนปูนขาวในระหว่างแผ่นอิฐ  ที่
        พระเจดีย์  แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เลิศ
        กว่านระ.
                     ในกัปที่  ๙๔ แต่กัปนี้   เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น    ด้วย
        กรรมนั้น  เราไม่รู้จักทุคติเลย  นี้เป็นผลแห่งการปฏิสังขรณ์.
                     ในกัปที่ ๓๐ แต่กัปนี้     ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ๑๓ ครั้ง
        ทรงพระนามว่าปฏิสังขาระ  ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ.
                     คุณวิเศษเหล่านี้   คือ ปฏิสัมภิทา ๔   วิโมกข์ ๘   และ
        อภิญญา ๖    เราทำให้แจ้งชัดแล้ว    คำสอนของพระพุทธเจ้า
        เราได้ทำเสร็จแล้ว  ดังนี้.

ทราบว่า   ท่านพระสุธาปิณฑิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้   ด้วย ประ-
การฉะนี้แล.
                                จบสุธาปิณฑิยเถราปทาน

สุธาวรรคที่  ๑๐
๙๑. อรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน
         อปทานของท่านพระสุธาปิณฑิยเถระ  มีคำเริ่มต้นว่า  ปูชารเห
ปูชยโต  ดังนี้.
         พระเถระแม้นี้      ได้บำเพ็ญกุศลสนภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ     ในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ        เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรง
พระชนม์อยู่        ไม่สามารถจะบำเพ็ญบุญได้      เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานแล้ว       เมื่อมหาชนพากันก่อพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระธาตุของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า    ท่านใส่ก้อนปูนขาวก่อเจดีย์นั้น.    ด้วยบุญกรรมนั้น
ท่านไม่เห็นอบาย ๔ ในระหว่างนี้      จำเดิมแต่กัป  ๙๔     เสวยเทวสมบัติ
ในพุทธุปบาทกาลนี้  บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง  บรรลุนิติภาวะแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา  บวชแล้วไม่นาน  ก็เป็นพระอรหันต์.
         ครั้นภายหลัง   ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน  เกิดโสมนัส   เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทานของตน  จึงกล่าวคำมีอาทิว่า  ปูชารเห  ปูชยโต
ดังนี้
         ในคำเหล่านี้     มีอธิบายดังต่อไปนี้.   พระพุทธเจ้า    พระปัจเจก-

พุทธเจ้า    พระอริยสาวก  อาจารย์   อุปัชฌาย์  มารดา   บิดา    และครู
เป็นต้น   ชื่อว่าปูชารหบุคคล (บุคคลที่ควรบูชา) ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำ
การนับส่วนแห่งบุญที่บุคคลบูชาแล้วในปูชารหบุคคลเหล่านั้น   ด้วยสักการะ
มีระเบียบดอกไม้ดอกปทุม ผ้า  เครื่องอาภรณ์และปัจจัย ๔ เป็นต้น   ด้วย
ทรัพย์ตั้งแสนเป็นต้น     แม้ด้วยอานุภาพอันใหญ่ได้    มิใช่เพียงบูชาพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น       ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น         แม้บูชาใน
พระเจดีย์   พระปฏิมา   และต้นโพธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า   ผู้แม้
ปรินิพพานไปแล้ว   ก็นัยนี้เหมือนกัน
         เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตุนฺนมฺปิ จ ทีปานํ ดังนี้.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  จตุนฺนมฺปิ   ทีปานํ ความว่า  พึงรวม
ทวีปทั้ง ๔ กล่าวคือ   ชมพูทวีป  อมรโคยานทวีป  อุตตรกุรุทวีป   และ
บุพพวิเทหทวีป    และทวีปน้อย  ๒ ,๐๐๐ อันรวมอยู่ในทวีปทั้ง ๔ นั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน       แล้วพึงกระทำความอิสระ    คือความเป็นพระราชา
ผู้จักรพรรดิในห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น.    บทว่า    เอกิสฺสา    ปูชนาเยตํ
ความว่า  นี้เป็นทรัพย์ทั้งสิ้น   มีรัตนะ ๗ เป็นต้น      ในชมพูทวีปทั้งสิ้น
แห่งการบูชาอันหนึ่ง ที่กระทำไว้ในห้องพระธาตุคือพระเจดีย์.     บทว่า
กลํ นาคฺฆติ  โสฬสึ  ความว่า  ไม่ถึงส่วนที่  ๑๖ ที่จำแนกไว้ ๑๖ ครั้ง
แห่งการบูชาที่กระทำไว้ในพระเจดีย์.
         บทว่า  สิทฺธตฺถสฺส ฯ เป ฯ ผลิตนฺตเร  ความว่า ในระหว่าง คือ
ในท่ามกลางแห่งแผ่นอิฐทั้งสองที่กำหนด  ที่มหาชนพากันฉาบด้วยปูนขาว
ที่ห้องเป็นที่บรรจุพระธาตุ ในพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ   ผู้เลิศประเสริฐกว่านระ.  อีกอย่างหนึ่งเชื่อมความว่า  เราได้ใส่
ก้อนปูนขาวลงในระหว่างที่เป็นที่ถวายดอกไม้.    คำที่เหลือในบททั้งปวงมี
อรรถตื้นทั้งนั้นแล.
                           จบอรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates