วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ก็บุญเก่าของคฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.

ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
             [๓๙๐] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับในเวลาเที่ยงวัน ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า เชิญเถอะมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนหนอ ในเวลาเที่ยงวัน ฯ              พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว หม่อมฉันให้ขนทรัพย์สมบัติ อันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ก็คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลาย ข้าวกับน้ำส้มพอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่าๆ กั้นร่มทำด้วย ใบไม้ ฯ              [๓๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คฤหบดี ผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธะ นามว่า ตครสิขี ว่าท่านทั้งหลาย จงถวายบิณฑะแก่สมณะแล้วลุกจากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้น ถวายแล้ว ภายหลังได้มีวิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยัง ดีกว่า นอกจากนี้เขายังปลงชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์ สมบัติอีก ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดบิณฑบาต ถวายพระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธะ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้ครอง ความเป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้แหละถึง ๗ ครั้ง ฯ              ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายแล้วภายหลังได้มี วิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า ด้วยวิบากของกรรม นั้น จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไป เพื่อใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อใช้ยานพาหนะอัน โอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคเบญจกามคุณอันโอฬาร ฯ              ดูกรมหาบพิตร ก็แหละการที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ปลงชีวิตบุตรน้อย คนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงถูกไฟ เผาอยู่ในนรกหลายปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของ กรรมนั้นเหมือนกัน ทรัพย์สมบัติอันไม่มีบุตรรับมรดกของเขานี้ จึงถูกขนเข้า พระคลังหลวงเป็นครั้งที่ ๗ ฯ              ดูกรมหาบพิตร ก็บุญเก่าของคฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว และ บุญใหม่ก็ไม่ได้สะสมไว้ ฯ              ดูกรมหาบพิตร ก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี ถูกไฟเผาอยู่ใน มหาโรรุวนรก ฯ              พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น เศรษฐี เข้าถึงมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ ฯ              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่างนั้นมหาบพิตร คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี เข้า ถึงมหาโรรุวนรกแล้ว ฯ              [๓๙๒] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า                           ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือข้าวของ ที่หวงแหนอย่าง                           ใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของ                           เขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องถึงซึ่งการละทิ้งไว้                           ทั้งหมด ฯ                           ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรม                           นั้นแหละ เป็นของๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป                           อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น                           เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี สั่งสมไว้สำหรับภพหน้า                           บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า ฯ
จบ วรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates