วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก
เล่ม๓๖.พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓  หน้า๙๕

๒. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก
         [๔๒]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล  ย่อมเกิดมาเพื่อ
ประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข    แก่ชนเป็นอันมาก  คือ  แก่มารดาบิดา
แก่บุตรภริยา  แก่ทาส  กรรมกร  คนรับใช้   แก่มิตรสหาย   แก่สมณพราหมณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เปรียบเหมือนมหาเมฆ     ยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม

โภคทรัพย์  ๕  ประการนี้   โภคทรัพย์เจริญขึ้น    อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า    เราถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว     และโภคทรัพย์ของเราก็
เจริญขึ้น     อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความเดือดร้อน     อริยสาวกย่อมไม่มีความ
เดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการฉะนี้แล.
                 นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า    เราได้
        ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว   ได้ใช้จ่าย
        โภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่าน
        พ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว    ได้ให้ทักษิณาอันมี
        ผลสูงเลิศแล้ว    ได้ทำพลี     ๕  ประการแล้ว
        และได้บำรุงท่านผู้มีศีล      สำรวมอินทรีย์
        ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว      บัณฑิตผู้อยู่
        ครองเรือน  พึงปรารถนาโภคทรัพย์  เพื่อ
        ประโยชน์ใด  ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ
        แล้ว    เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว
        ดังนี้  ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระ-
        อริยะ     บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา
        ในโลกนี้       เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว
        ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.
                 จบอาทิยสูตรที่  ๑

ชื่อว่าย่อมมีมาเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข     แก่ชนเป็นอันมาก
ฉันใด  สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล  ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อ
ความสุข     แก่ชนเป็นอันมาก   คือ   แก่มารดาบิดา    แก่บุตรภริยา    แก่ทาส
กรรมกร  คนรับใช้  แก่มิตรสหาย   แก่สมณพราหมณ์  ฉันนั้นเหมือนกัน.
                 สัปบุรุษผู้ครอบครองโภคทรัพย์
        เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
        เทวดาย่อมรักษาเขาผู้อันธรรมคุ้มครอง
        เป็นพหูสูต     สมบูรณ์ด้วยศีลและความ
        ประพฤติ   เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ใน
        ธรรม    ใครจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่
        ในธรรม  สมบูรณ์ด้วยศีล  มีวาจาสัจ  มีหิริ
        ในใจ  เปรียบเสมือนแห่งทองชมพูนุท  แม้
        เทวดาก็ชม  แม้พรหมก็สรรเสริญเขา.
                                   จบสัปปุริสสูตรที่  ๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates