วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิ

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เล่ม๗๑.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒  หน้า ๒๖๖


สุมนเถราปทานที่  ๙ (๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิ
     [๗๑]   ในกาลนั้น      เราเป็นนายมาลาการมีชื่อว่าสุมนะ      ได้
        เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี   ทรงสมควรรับเครื่องบูชาของ
        โลก  จึงเอามือทั้งสองประคองดอกมะลิที่บานดี   บูชาแด่พระ-
        พุทธเจ้าพระนามว่าสิขี   ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
                     ด้วยการบูชาดอกไม้นี้    และด้วยการตั้งจิตไว้   เราไม่รู้จัก
        ทุคติเลย   นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
                     ในกัปที่ ๓๑  แต่กัปนี้  เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
        ด้วยการบูชานั้น   เราไม่รู้จักทุคติเลย  นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
                     ในกัปที่ ๒๖   แต่กัปนี้     ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
        ผู้มีพระยศมาก  ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว  ๗ ประการ.
                     คุณวิเศษเหล่านี้    คือ  ปฏิสัมภิทา ๔   วิโมกข์ ๘   และ
        อภิญญา ๖  เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว   คำสอนของพระพุทธเจ้า
        เราได้ทำเสร็จแล้ว   ดังนี้.
         ทราบว่า   ท่านพระสุมนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้  ด้วยประการฉะนี้
แล.
                                         จบสุมนเถราปทาน

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก
เล่ม๓๖.พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓  หน้า๙๕

๒. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก
         [๔๒]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล  ย่อมเกิดมาเพื่อ
ประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข    แก่ชนเป็นอันมาก  คือ  แก่มารดาบิดา
แก่บุตรภริยา  แก่ทาส  กรรมกร  คนรับใช้   แก่มิตรสหาย   แก่สมณพราหมณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เปรียบเหมือนมหาเมฆ     ยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม

โภคทรัพย์  ๕  ประการนี้   โภคทรัพย์เจริญขึ้น    อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า    เราถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว     และโภคทรัพย์ของเราก็
เจริญขึ้น     อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความเดือดร้อน     อริยสาวกย่อมไม่มีความ
เดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการฉะนี้แล.
                 นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า    เราได้
        ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว   ได้ใช้จ่าย
        โภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่าน
        พ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว    ได้ให้ทักษิณาอันมี
        ผลสูงเลิศแล้ว    ได้ทำพลี     ๕  ประการแล้ว
        และได้บำรุงท่านผู้มีศีล      สำรวมอินทรีย์
        ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว      บัณฑิตผู้อยู่
        ครองเรือน  พึงปรารถนาโภคทรัพย์  เพื่อ
        ประโยชน์ใด  ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ
        แล้ว    เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว
        ดังนี้  ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระ-
        อริยะ     บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา
        ในโลกนี้       เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว
        ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.
                 จบอาทิยสูตรที่  ๑

ชื่อว่าย่อมมีมาเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข     แก่ชนเป็นอันมาก
ฉันใด  สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล  ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อ
ความสุข     แก่ชนเป็นอันมาก   คือ   แก่มารดาบิดา    แก่บุตรภริยา    แก่ทาส
กรรมกร  คนรับใช้  แก่มิตรสหาย   แก่สมณพราหมณ์  ฉันนั้นเหมือนกัน.
                 สัปบุรุษผู้ครอบครองโภคทรัพย์
        เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
        เทวดาย่อมรักษาเขาผู้อันธรรมคุ้มครอง
        เป็นพหูสูต     สมบูรณ์ด้วยศีลและความ
        ประพฤติ   เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ใน
        ธรรม    ใครจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่
        ในธรรม  สมบูรณ์ด้วยศีล  มีวาจาสัจ  มีหิริ
        ในใจ  เปรียบเสมือนแห่งทองชมพูนุท  แม้
        เทวดาก็ชม  แม้พรหมก็สรรเสริญเขา.
                                   จบสัปปุริสสูตรที่  ๒

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยผลแห่งการชำระพระสถูป


ว่าด้วยผลแห่งการชำระพระสถูป


พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
เล่ม๗๑.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒  หน้า ๘๐๓


ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
ว่าด้วยผลแห่งการชำระพระสถูป
     [๓๓๘] พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า  ปทุมุตตระ
        เชษฐบุรุษของโลก  ผู้คงที่  มีอยู่ในป่าชัฏ  อันเกลื่อนกล่นด้วย
        เนื้อร้าย.
                     ใคร ๆ ไม่อาจจะไปเพื่อกราบไหว้พระเจดีย์     พระเจดีย์
        อันหญ้าต้นและเถาวัลย์ปกคลุม  หักพัง.
                     ในกาลนั้น   เราเป็นคนทำการงานในป่า  ด้วยการงานของ
บิดาและปู่     เราได้เห็นพระสถูปอันหักพัง    หญ้าและเถาวัลย์
        ปกคลุมในป่าใหญ่.
                     ครั้นได้เห็นพระสถูปแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว    ตั้งจิตเคารพ
        ไว้ว่า   พระสถูปนี้แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด    หักพังอยู่
        ในป่า.
                     พระสถูปไม่มีอะไรบังแดดฝน      ไม่สมควรแก่คนที่รู้คุณ
        และมิใช่คุณ     เราได้แผ้วถางพระสถูปแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว
        จึงจะประกอบการงานอื่น.
                     ครั้นเราแผ้วถางหญ้าต้นไม้และเถาวัลย์ที่พระเจดีย์    ไหว้
        ครบ  ๘ ครั้งแล้ว    กลับไปยังที่อยู่ของตน   ด้วยกรรมที่เราทำดี
        แล้วนั้น    และด้วยการตั้งเจตนามั่น  เราละกายมนุษย์แล้ว  ได้
        ไปสู่ชั้นดาวดึงส์.
                     วิมานทองอันบุญกรรมทำไว้ในชั้นดาวดึงส์นั้น    สวยงาม
        เลื่อมประภัสสร  สูง  ๖ โยชน์  กว้าง  ๓๐ โยชน์.
                     เราได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐  ครั้ง    และได้เป็น
        พระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง.
                     ครั้งเมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่  ย่อมได้โภค-
        สมบัติมาก    ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่เราเลย   นี้เป็น
        ผลแห่งการแผ้วถาง
                     เมื่อเราไปในป่าใหญ่ด้วยคานหามหรือด้วยคอช้าง     เรา
        ไปสู่ทิศใด ๆ   ในทิศนั้น ๆ  ป่าย่อมสำเร็จเป็นที่พึ่งพักได้.
 เราไม่เห็นตอหรือแม้หนามด้วยจักษุเลย  เราประกอบด้วย
        บุญกรรม  บุญกรรมย่อมนำปราศไปเอง.
                     โรคเรื้อน  ฝี  กลาก  โรคลมบ้าหมู่   คุดทะราด   หิดเปื่อย
        และหิดด้าน    ไม่มีแก่เรา   นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง.
                     เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า   ความอัศจรรย์
        อย่างอื่นยังมีอีก    เราไม่รู้สึกว่า    ต่อมฝีมีหยาดน้ำเหลืองเกิด
        ในกายของเราเลย  เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า.
                     ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก    เราได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพ
        ๒ ภพ  คือ  ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์.
                     เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า   ความอัศจรรย์
        อย่างอื่นยังมีอีก     เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง     เป็นผู้มีรัศมี
        ในที่ทั้งปวง.
                     เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า   ความอัศจรรย์
        อย่างอื่นยังมีอีก  สิ่งที่ไม่ชอบใจไม่มี  สิ่งที่ชอบใจเข้ามาตั้งไว้.
                     เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า  ความอัศจรรย์
        อย่างอื่นยังมีอีก   เรานั่งบนอาสนะเดียว  ได้บรรลุอรหัต.
                     ในกัปที่แสนแต่กัปนี้    เราได้ทำกรรมใด  ในกาลนั้น  ด้วย
        กรรมนั้น   เราไม่รู้จักทุคติเลย   นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง.
คุณวิเศษเหล่านี้  คือ  ปฏิสัมภิทา ๔   วิโมกข์  ๘    และ
        อภิญญา  ๖    เราทำให้แจ้งชัดแล้ว    คำสอนของพระพุทธเจ้า
        เราได้ทำเสร็จแล้ว  ดังนี้.
         ทราบว่า    ท่านพระปภังกรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้   ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
                                      จบปภังกรเถราปทาน

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา

ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
เล่ม๗๑.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒  หน้า๗๖๖


ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด
สัตตปทุมิยเถราปทานที่  ๔  (๓๑๔)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
     [๓๑๖] เราเป็นพราหมณ์นามว่า  เนสาทะ  อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เรา
        กวาดอาศรมด้วยดอกไม้ (ดอกปทุม)  มีกลีบ ๗  กลีบ    ความ
        ชื่นชมเกิดขึ้นแก่เรา  เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า  พระนาม
        ว่า สิทธัตถะ  ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ  ผู้เป็นนายกของโลก
        กำลังเสด็จไปทางป่า.
                     เราต้อนรับพระสัมพุทธเจ้าผู้เชษฐบุรุษของโลก  ประเสริฐ
        กว่านระ     นำพระองค์มายังอาศรมแล้ว   บูชาด้วยดอกบัวอัน
        สวยงาม.
                     ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้     เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
        ใด    ด้วยการบูชานั้น    เราไม่รู้จักทุคติเลย     นี้เป็นผลแห่ง
        พุทธบูชา.
                     ในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้     ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ๑๔  ครั้ง
        ร่าเริงยังหนุ่มอยู่  สมบูรณ์ด้วยแก้ว  ๗ ประการ  มีพละมาก.
                     คุณวิเศษเหล่านี้  คือ  ปฏิสัมภิทา ๔   วิโมกข์ ๘   และ
        อภิญญา ๖   เราทำให้แจ้งชัดแล้ว     คำสอนของพระพุทธเจ้า
        เราได้ทำเสร็จแล้ว   ดังนี้.
         ทราบว่า      ท่านพระสัตตปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้       ด้วย
ประการฉะนี้แล.
                                 จบสัตตปทุมิยเถราปทาน

๓๑๔.  อรรถกถาสัตตปทุมิยเถราปทาน
         พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔  ดังต่อไปนี้ :-
         บทว่า   ชลชคฺเคหิ  โอกิรึ    ความว่า    เราได้เอาดอกไม้ทั้งหลาย
มีดอกอุบลและดอกปทุมเป็นต้น   ที่สูงสุด  เกิดในน้ำมาเกลี่ยบูชาแล้วแล.
                            จบอรรถกถาสัตตปทุมิยเถราปทาน

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยผลบุญของผู้บูชาบุคคลผู้ควรบูชาไม่อาจนับได้

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
เล่ม ๗๑.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒  หน้า๓๒๘



ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด


สุธาวรรคที่  ๑๐
สุธาปิณฑิยเถราปทานที่  ๑  (๙๑)
ว่าด้วยผลบุญของผู้บูชาบุคคลผู้ควรบูชาไม่อาจนับได้
     [๙๓]  ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาพระพุทธเจ้า พระ-
        ปัจเจกพุทธเจ้า   หรือพระสาวก   ผู้สมควรบูชา   ผู้ล่วงธรรม
        เครื่องให้เนิ่นช้า   ผู้ข้ามความโศกและความร่ำไรแล้ว    ว่าบุญ
        นี้มีประมาณเท่านี้ได้.
                     ใคร ๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคล    ผู้บูชาปูชารหบุคคล
        เหล่านั้น  เช่นนั้น  ผู้ดับแล้ว   ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ  ว่าบุญนี้
        มีประมาณเท่านี้ได้.
                     การที่บุคคลในโลกนี้         ฟังให้ทำความเป็นใหญ่ในทวีป
        ทั้ง ๔ นี้   ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการบูชานี้.
                     เรามีใจผ่องใส     ได้ใส่ก้อนปูนขาวในระหว่างแผ่นอิฐ  ที่
        พระเจดีย์  แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เลิศ
        กว่านระ.
                     ในกัปที่  ๙๔ แต่กัปนี้   เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น    ด้วย
        กรรมนั้น  เราไม่รู้จักทุคติเลย  นี้เป็นผลแห่งการปฏิสังขรณ์.
                     ในกัปที่ ๓๐ แต่กัปนี้     ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ๑๓ ครั้ง
        ทรงพระนามว่าปฏิสังขาระ  ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ.
                     คุณวิเศษเหล่านี้   คือ ปฏิสัมภิทา ๔   วิโมกข์ ๘   และ
        อภิญญา ๖    เราทำให้แจ้งชัดแล้ว    คำสอนของพระพุทธเจ้า
        เราได้ทำเสร็จแล้ว  ดังนี้.

ทราบว่า   ท่านพระสุธาปิณฑิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้   ด้วย ประ-
การฉะนี้แล.
                                จบสุธาปิณฑิยเถราปทาน

สุธาวรรคที่  ๑๐
๙๑. อรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน
         อปทานของท่านพระสุธาปิณฑิยเถระ  มีคำเริ่มต้นว่า  ปูชารเห
ปูชยโต  ดังนี้.
         พระเถระแม้นี้      ได้บำเพ็ญกุศลสนภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ     ในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ        เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรง
พระชนม์อยู่        ไม่สามารถจะบำเพ็ญบุญได้      เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานแล้ว       เมื่อมหาชนพากันก่อพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระธาตุของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า    ท่านใส่ก้อนปูนขาวก่อเจดีย์นั้น.    ด้วยบุญกรรมนั้น
ท่านไม่เห็นอบาย ๔ ในระหว่างนี้      จำเดิมแต่กัป  ๙๔     เสวยเทวสมบัติ
ในพุทธุปบาทกาลนี้  บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง  บรรลุนิติภาวะแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา  บวชแล้วไม่นาน  ก็เป็นพระอรหันต์.
         ครั้นภายหลัง   ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน  เกิดโสมนัส   เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทานของตน  จึงกล่าวคำมีอาทิว่า  ปูชารเห  ปูชยโต
ดังนี้
         ในคำเหล่านี้     มีอธิบายดังต่อไปนี้.   พระพุทธเจ้า    พระปัจเจก-

พุทธเจ้า    พระอริยสาวก  อาจารย์   อุปัชฌาย์  มารดา   บิดา    และครู
เป็นต้น   ชื่อว่าปูชารหบุคคล (บุคคลที่ควรบูชา) ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำ
การนับส่วนแห่งบุญที่บุคคลบูชาแล้วในปูชารหบุคคลเหล่านั้น   ด้วยสักการะ
มีระเบียบดอกไม้ดอกปทุม ผ้า  เครื่องอาภรณ์และปัจจัย ๔ เป็นต้น   ด้วย
ทรัพย์ตั้งแสนเป็นต้น     แม้ด้วยอานุภาพอันใหญ่ได้    มิใช่เพียงบูชาพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น       ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น         แม้บูชาใน
พระเจดีย์   พระปฏิมา   และต้นโพธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า   ผู้แม้
ปรินิพพานไปแล้ว   ก็นัยนี้เหมือนกัน
         เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตุนฺนมฺปิ จ ทีปานํ ดังนี้.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  จตุนฺนมฺปิ   ทีปานํ ความว่า  พึงรวม
ทวีปทั้ง ๔ กล่าวคือ   ชมพูทวีป  อมรโคยานทวีป  อุตตรกุรุทวีป   และ
บุพพวิเทหทวีป    และทวีปน้อย  ๒ ,๐๐๐ อันรวมอยู่ในทวีปทั้ง ๔ นั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน       แล้วพึงกระทำความอิสระ    คือความเป็นพระราชา
ผู้จักรพรรดิในห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น.    บทว่า    เอกิสฺสา    ปูชนาเยตํ
ความว่า  นี้เป็นทรัพย์ทั้งสิ้น   มีรัตนะ ๗ เป็นต้น      ในชมพูทวีปทั้งสิ้น
แห่งการบูชาอันหนึ่ง ที่กระทำไว้ในห้องพระธาตุคือพระเจดีย์.     บทว่า
กลํ นาคฺฆติ  โสฬสึ  ความว่า  ไม่ถึงส่วนที่  ๑๖ ที่จำแนกไว้ ๑๖ ครั้ง
แห่งการบูชาที่กระทำไว้ในพระเจดีย์.
         บทว่า  สิทฺธตฺถสฺส ฯ เป ฯ ผลิตนฺตเร  ความว่า ในระหว่าง คือ
ในท่ามกลางแห่งแผ่นอิฐทั้งสองที่กำหนด  ที่มหาชนพากันฉาบด้วยปูนขาว
ที่ห้องเป็นที่บรรจุพระธาตุ ในพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ   ผู้เลิศประเสริฐกว่านระ.  อีกอย่างหนึ่งเชื่อมความว่า  เราได้ใส่
ก้อนปูนขาวลงในระหว่างที่เป็นที่ถวายดอกไม้.    คำที่เหลือในบททั้งปวงมี
อรรถตื้นทั้งนั้นแล.
                           จบอรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน

 
Blogger Templates