วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง

พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
เล่มที่๔๓.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ หน้า๓๒๓



ฉันจะปรับขนาดของตัวอักษรได้อย่างไร

คุณสามารถขยายและลดขนาดตัวอักษรของคุณได้โดยใช้คุณสมบัติการขยายของเบราว์เซอร์:
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มลบ (-) เพื่อลดขนาด
  • กดปุ่ม Ctrl (PC) หรือ Cmd (Mac) ค้างไว้แล้วกดปุ่มบวก (+) เพื่อเพิ่มขนาด


๑๐.  เรื่องท้าวสักกเทวราช  [๒๔๙]
ข้อความเบื้องต้น
        พระศาสดา   เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน    ทรงปรารภท้าวสักก-
เทวราช  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  " สพฺพทานํ "   เป็นต้น.
ปัญหา  ๔  ข้อของเทวดา
        ความพิสดารว่า    ในสมัยหนึ่ง    เทพดาในดาวดึงสเทวโลกประชุม
กันแล้ว  ตั้งปัญหาขึ้น  ๔  ข้อว่า    " บรรดาทานทั้งหลาย  ทานชนิดไหน
หนอแล  ?    บัณฑิตกล่าวว่าเยี่ยม,   บรรดารสทั้งหลาย  รสชนิดไหน ?
บัณฑิตกล่าวว่ายอด,    บรรดาความยินดีทั้งหลาย  ความยินดีชนิดไหน ?
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ,  ความสิ้นไปแห่งตัณหาแล  บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐ
ที่สุด  เพราะเหตุไร ?   แม้เทพดาองค์หนึ่ง    ก็มิสามารถจะวินิจฉัยปัญหา
เหล่านั้นได้.   ก็เทพดาองค์หนึ่ง  ถามกะเทพดาองค์หนึ่ง,  แม้เทพดาองค์นั้น
ก็ถามเทพดาองค์อื่นอีก,   ก็เทพดาทั้งหลาย     ถามกันและกันอย่างนั้น  ด้วย
อาการอย่างนั้น   ได้ท่องเที่ยวไปในหมื่นจักรวาลถึง ๑๒ ปี.
เทวดาพากันไปถามปัญหาท้าวมหาราชทั้ง  ๔
        เทวดาในหมื่นจักรวาล      ไม่เห็นเนื้อความแห่งปัญญาโดยกาลแม้มี
ประมาณเท่านี้  ประชุมกันแล้ว   ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง  ๔,  เมื่อ
ท้าวมหาราชกล่าวว่า    " พ่อทั้งหลาย    ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่  ?"
จึงกล่าวว่า  " พวกผมตั้งปัญหาขึ้น  ๔  ข้อแล้ว   เมื่อไม่สามารถจะวินิจฉัยได้
จึงมายังสำนักของท่าน,"    เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า  "ชื่อปัญหาอะไรกัน ?
พ่อ "  (จึงบอกเนื้อความนั้น)  ว่า   " พวกผมไม่สามารถวินิจฉัยปัญหา

เหล่านี้ได้ คือ  ' บรรดาทาน  รส   และความยินดี  ทาน  รส  และความยินดี
ชนิดไหนหนอแล  ประเสริฐสุด ?  ความสิ้นไปแห่งตัณหาเทียว  ประเสริฐ
สุด   เพราะเหตุไร ?"   จึงมาหา.
        ท้าวมหาราชทั้ง  ๘ กล่าวว่า  " พ่อทั้งหลาย  แม้พวกเราก็หารู้เนื้อ
ความแห่งปัญหาเหล่านี้ไม่;  แต่พระราชาของพวกเรา  ทรงดำริอรรถที่ชน
ตั้งพันคิดแล้ว    ย่อมทรงทราบโดยขณะเดียวเท่านั้น,     พระองค์ประเสริฐ
วิเศษกว่าพวกเราทั้งหลาย    ทั้งทางปัญญาและทางบุญ,    พวกเราจงไปยัง
สำนักของพระองค์เถิด"  แล้วพาหมู่เทพดานั้นนั่นแลไปยังสำนักของท้าว-
สักกเทวราช,   ถึงเมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสว่า   " พ่อทั้งหลาย   ทำไม
จึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่ ? "  ก็กราบทูลเนื้อความนั้น.
ท้าวสักกะทรงพาพวกเทวดาไปเฝ้าพระศาสดา
        ท้าวสักกะตรัสว่า   " พ่อทั้งหลาย  คนอื่นย่อมไม่สามารถรู้เนื้อความ
แห่งปัญหาเหล่านี้ได้,    ปัญหาเหล่านั่น   เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า,   แล้ว
ตรัสถามว่า   " ก็เดี๋ยวนี้   พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน ?"  ทรงสดับว่า
" ในพระเชตวันวิหาร"  จึงตรัสว่า  " พวกเธอมาเถิด,   พวกเราจักไปยัง
สำนักของพระองค์"     ทรงพร้อมด้วยหมู่เทพดา    ให้พระเชตวันทั้งสิ้น
สว่างไสวในส่วนแห่งราตรี   เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ถวายบังคมแล้ว  ประทับ
ยืนอยู่  ณ  ส่วนข้างหนึ่ง,    เมื่อพระศาสดาตรัสว่า   " มหาบพิตร   ทำไม
พระองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับหมู่เทพดามากมาย  ?"  จึงกราบทูลว่า  "พระ-
เจ้าข้า   หมู่เทพดาพากันตั้งปัญหาชื่อเหล่านี้,   คนอื่นที่ชื่อว่าสามารถรู้เนื้อ
ความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้   หามีไม่,  ขอพระองค์ได้ทรงประกาศเนื้อความ
แห่งปัญหาเหล่านี้    แก่พวกข้าพระองค์เถิด."
พระศาสดาทรงแก้ปัญหา
        พระศาสดาตรัสว่า   "  ดีละ  มหาบพิตร   ตถาคตบำเพ็ญบารมี  ๓๐
ทัศ   บริจาคมหาบริจาค    แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว  ก็เพื่อตัด
ความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ,   ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่
พระองค์ถามแล้วเถิด:  บรรดาทานทุกชนิด  ธรรมทานเป็นเยี่ยม,  บรรดา
รสทุกชนิด  รสแห่งพระธรรมเป็นยอด,   บรรดาความยินดีทุกชนิด  ความ
ยินดีในธรรมประเสริฐ,     ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้
เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต"     ดังนี้แล้ว   ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
                ๑๐.        สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ
                        สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ
                        สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ
                        ตณฺหกฺขโย   สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.
        "  ธรรมทาน   ย่อมชนะทานทั้งปวง,    รสแห่ง
        ธรรม     ย่อมชนะรสทั้งปวง,   ความยินดีในธรรม
        ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,  ความสิ้นไปแห่งตัณหา
        ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."
แก้อรรถ
        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สพฺพทานํ  เป็นต้น  ความว่า  ก็ถ้า
บุคคลถึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน   แด่พระพุทธเจ้าพระปัจเจก-
พุทธเจ้าแล้วพระขีณาสพทั้งหลาย  ผู้นั่งติด ๆ  กัน   ในห้องจักรวาลตลอด
๑. หมายถึงบริจาค ๕ คือ :- ๑. องฺคปริจฺจาค บริจาคอวัยวะ. ๒. ธนปริจาค บริจาค
ทรัพย์. ๓. ปุตฺตปริจฺจาค บริจาคบุตร. ๔. ทารปริจฺจาค บริจาคเมีย. ๕. ชีวิตปริจฺจาค
บริจาคชีวิต.
ถึงพรหมโลก.     การอนุโมทนาเทียว    ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วย
พระคาถา ๔  บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ;    ก็ทานนั้น    หามีค่าถึงเสี้ยว
ที่ ๑๖  แห่งพระคาถานั้นไม่:    การแสดงก็ดี  การกล่าวสอนก็ดี  การสดับ
ก็ดี  ซึ่งธรรม  เป็นของใหญ่   ด้วยประการฉะนี้.    อนึ่ง  บุคคลใดให้ทำ
การฟังธรรม,   อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้.    ธรรมทาน
นั่นแหละ  ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว  แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนา
โดยที่สุดด้วยพระคาถา  ๔   บาท  ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตร
ให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละ
บ้าง   กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้น
แล้วถวายบ้าง     กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหาร
และปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายบ้าง  กว่าการบริจาค
ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลายแล้วทำบ้าง.     เพราะ
เหตุไร ?   เพราะว่าชนทั้งหลาย   เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น    ต่อฟังธรรม
แล้วเท่านั้นจึงทำได้.   ไม่ได้ฟัง   ก็หาทำได้;   ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึง
ฟังธรรมไซร้,     เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง    ภัต
ประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง;  เพราะเหตุนี้    ธรรมทานนั่นแหละ   จึงประเสริฐ
ที่สุดกว่าทานทุกชนิด.
        อีกอย่างหนึ่ง     เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย     แม้
พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น  ผู้ประกอบด้วยปัญญา  ซึ่งสามารถ
นับหยาดน้ำได้    ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น    ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุ
โสดาปัตติผลเป็นต้น    โดยธรรมดาของตนได้;     ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิ-
เถระเป็นต้นแสดงแล้ว   จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล,     และทำให้แจ้งซึ่ง
สาวกบารมีญาณ   ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา;   เพราะเหตุแม้นี้
มหาบพิตร   ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด.  เพราะเหตุนั้น  พระ-
ศาสดาจึงตรัสว่า  "สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ. "
        อนึ่ง   รสมีรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้นทุกชนิด     โดยส่วนสูงแม้รสแห่ง
สุธาโภชน์ของเทพดาทั้งหลาย    ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยิ่งสัตว์ให้ตกไปใน
สังสารวัฏ   แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.    ส่วนพระธรรมรสกล่าวคือโพธิปักขิย-
ธรรม  ๓๗  ประการ       และกล่าวคือโลกุตรธรรม  ๙  ประการนี้แหละ
ประเสริฐกว่ารสทั้งปวง.   เพราะเหตุนั้น  พระศาสดาจึงตรัสว่า " สพฺพรสํ
ธมฺมรโส  ชินาติ."
        อนึ่ง  แม้ความยินดีในบุตร   ความยินดีในธิดา  ความยินดีในทรัพย์
 ความยินดีในสตรี  และความยินดีมีประเภทมิใช่อย่างเดียวอันต่างด้วยความ
ยินดีในการฟ้อนการขับการประโคมเป็นต้น        ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยัง
สัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ    แล้วเสวยทุกข์โดยแท้;  ส่วนความอิ่มใจ  ซึ่ง
เกิดขึ้น  ณ ภายในของผู้แสดงก็ดี   ผู้ฟังก็ดี   ผู้กล่าวสอนก็ดี  ซึ่งธรรม  ย่อม
ให้เกิดความเบิกบานใจ   ให้น้ำตาไหล   ให้เกิดขึ้นชูชัน   ความอิ่มใจนั้น
ย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ      มีพระอรหัตเป็นปริโยสาน;     ความยินดีใน
ธรรม  เห็นปานนี้แหละ   ประเสริฐกว่าความยินดีทั้งปวง.   เพราะเหตุนั้น
พระศาสดา  จึงตรัสว่า "สพฺพรตึ  ธมฺมรติ  ชินาติ."
        ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา      คือพระอรหัตซึ่งเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง
๑. น่าจะเป็นบทเกิน, เพราะใครไม่สามารถทำเนื้อความเช่นนี้ ให้พระดำรัสของพระศาสดาได้.
๒. Celestial food ambrosia อาหารทิพย์ (อาหารของเทพดาในเรื่องนิยาย
ถือกันว่าทำให้ผู้บริโภคไม่ตาย ให้ความงามและความหนุ่มสาวอยู่ชั่วนิรันดร) ของเกินเครื่องดื่ม
อันโอชารส.
ความสิ้นไปแห่งตัณหา,  พระอรหัตนั้น   ประเสริฐกว่าทุกอย่างแท้  เพราะ
ครอบงำวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.     เพราะเหตุนั้น     พระศาสดาจึงตรัสว่า
" ตณฺหกฺขโย  สพฺพทุกฺขํ  ชินาติ."
        เมื่อพระศาสดา    ตรัสเนื้อความแห่งพระคาถานี้    ด้วยประการฉะนี้
อยู่นั่นแล   ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔  พันแล้ว.
        แม้ท้าวสักกะ  ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา  ถวายบังคมพระ-
ศาสดาแล้ว  ทูลว่า พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร  พระองค์จึงไม่รับสั่งให้
ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์ ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้ ?  จำเดิม
แต่นี้ไป    ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์แล้วรับสั่งให้ ๆ ส่วน
บุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด  พระเจ้าข้า."    พระศาสดา    ทรงสดับคำของ
ท้าวเธอแล้ว  รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว    ตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี  การฟังธรรมตาม
ปกติก็ดี   กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี    โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา    แล้วพึง
ให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง."
                    เรื่องท้าวสักกเทวราช  จบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates